พีระมิดอียิปต์

พีระมิดในประเทศอียิปต์ เป็นหนึ่งในพีระมิดที่เป็นที่รู้จักโดยมีหลายแห่งในประเทศอียิปต์ เป็นสิ่งก่อสร้างของชาวอียิปต์โบราณสมัยก่อนยุคเหล็ก โดยเฉพาะ พีระมิดคูฟู ใน หมู่พีระมิดแห่งกิซ่า นับเป็นสิ่งก่อสร้าง ขนาดใหญ่ที่สุด ที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิทยาการ ที่น่าอัศจรรย์ของอียิปต์โบราณ

กลุ่มพีระมิดแห่งกีซา

พีระมิดโจเซอร์ (Djoser's Pyramid)

แก้
พีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์โซเซอร์ที่เมืองซักคารา

พีระมิดโจเซอร์ (Djoser's Pyramid) หรือ พีระมิดแห่งซักการา (The Pyramid of Saqqara) นับเป็นพีระมิดแห่งแรกของอียิปต์ ที่ฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser หรือ Zoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 เป็นผู้สร้างขึ้น โดยมี อิมโฮเทป (Imhotep) ที่ปรึกษาประจำองค์ฟาโรห์เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ ลักษณะที่สำคัญคือเป็น พีระมิดขั้นบันได (Step Pyramid) ซ้อนกันรวม 6 ชั้น เปรียบเสมือนบันไดไปสู่สวรรค์ ส่วนพีระมิดรุ่นหลังที่เป็นแบบมหาพีระมิดที่แต่ละด้านของพีระมิดลาดเอียงลงประมาณ 51 องศามีความชันน้อยกว่าและไม่เป็นขั้นบันได ก็ถือว่าเป็นการลาดของลำแสงดวงอาทิตย์เช่นกัน ในขณะที่พีระมิดยุคต่อมาจะไม่มีลักษณะของขั้นบันไดให้เห็น ก่อนหน้านี้สุสานของฟาโรห์จะสร้างอยู่ใต้ดินโดยปิดทับด้วยสิ่งก่อสร้างที่ไม่สูงมากนักเรียกว่า มัสตาบา (Mastaba)

พีระมิดไมดุม (Meidum Pyramid)

แก้

พีระมิดไมดุม สร้างโดยฟาโรห์สนอฟรู (Snofru) หรืออีกพระนามหนึ่งคือ สเนฟรู (Sneferu) ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ที่ 4 ของอียิปต์โบราณ เป็นพีระมิดที่พยายามพัฒนารูปแบบต่อจากพีระมิดขั้นบันไดของฟาโรห์โซเซอร์ โดยตั้งใจจะก่อสร้างให้มีรูปร่างเป็นพีระมิดที่สมบูรณ์ แต่เกิดปัญหาพังทลายลงระหว่างการก่อสร้างเนื่องจากพื้นทรายด้านล่างรองรับน้ำหนักพีระมิดไม่ไหว นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งเชื่อว่า ฟาโรห์สนอฟรูสร้างพีระมิดไมดุมนี้ให้กับ ฟาโรห์ฮูนิ (Huni) ฟาโรห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่ 3 ผู้เป็นพระราชบิดาของพระองค์

พีระมิดหักงอ (Bent Pyramid)

แก้
พีระมิดหักมุม ที่เมือง Dahshur

พีระมิดหักงอ (Bent Pyramid) หรือบางครั้งเรียกกันสั้นๆ ว่า พีระมิดเบี้ยว สร้างขึ้นโดย ฟาโรห์สนอฟรู (Snofru) หลังจากการก่อสร้างพีระมิดไมดุมประสบความล้มเหลว เดิมมีเป้าหมายจะสร้างให้มีรูปร่างเป็นแบบพีระมิดที่สมบูรณ์ แต่เกิดปัญหาในระหว่างการก่อสร้างเนื่องจากแต่ละด้านของพีระมิดทำมุมชันมากเกินไปคือชันถึง 54 องศาทำให้ต้องเปลี่ยนแบบการก่อสร้างกลางคัน กลายเป็นพีระมิดที่แต่ละด้านหักมุมเปลี่ยนความชันที่ประมาณระหว่างกลางความสูงของพีระมิดเหลือความชัน 43 องศา นับเป็นพีระมิดที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งเนื่องจากรูปร่างที่แปลกตาอย่างเห็นได้ชัดและแสดงถึงความสามารถของผู้สร้างที่สามารถแก้ไขปัญหาการก่อสร้างที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 4,600 ปีมาแล้ว

ประสบการณ์จากพีระมิดหักมุมนี้เอง ทำให้การก่อสร้างพีระมิดแห่งต่อมาประสบความสำเร็จ และส่งผลให้มีการสร้าง มหาพีระมิดแห่งกิซ่า ที่กลายเป็นหนึ่งเดียวของ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

พีระมิดแดง (Red Pyramid)

แก้
พีระมิดแดงของฟาโรห์สเนเฟรู

พีระมิดแดง (Red Pyramid) สร้างโดยฟาโรห์สนอฟรู หลังจากพีระมิดเมดุม และพีระมิดหักงอ นับเป็นพีระมิดที่มีรูปร่างสมบูรณ์แบบแห่งแรกของโลก ด้านทั้ง 4 ของพีระมิดแดงทำมุมเอียง 43 องศาเท่ากับมุมเอียงในส่วนบนของพีระมิดหักงอ ซึ่งเท่ากับมีการนำบทเรียนจากการสร้างพีระมิดครั้งก่อนมาใช้นั่นเอง

พีระมิดแดงมีความสูงถึง 104 เมตร (341 ฟุต) หรือประมาณอาคารสูง 30 ชั้น (เมื่อคิดความสูงที่ชั้นละ 3.5 เมตร) ฐานพีระมิดแต่ละด้านยาว 220 เมตร (722 ฟุต) หรือมีขนาดฐานเกือบเท่ากับมหาพีระมิดคูฟูแห่งกิซ่า นับเป็นพีระมิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพีระมิด 3 แห่งที่เมืองดาชูร์ (Dahshur) และในยุคสมัยที่ก่อสร้างแล้วเสร็จยังนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลกในขณะนั้นอีกด้วย และเนื่องจากพีระมิดนี้สร้างโดยปิดผิวนอกด้วยหินแกรนิตสีแดงทำให้ได้ชื่อว่าพีระมิดแดงจากสีหินแกรนิตนั่นเอง

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

29°58′45.25″N 31°08′03.75″E / 29.9792361°N 31.1343750°E / 29.9792361; 31.1343750


🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปาณรวัฐ กิตติกรเจริญวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระสุนทรโวหาร (ภู่)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กองทัพ พีคการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาลานีญาศิริลักษณ์ คองรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโฉมฉาย ฉัตรวิไลแบล็กพิงก์ประเทศไทยรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพงษ์สิทธิ์ คำภีร์อาณาจักรอยุธยาฟุตบอลอาเซียนชิงแชมป์เยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปีวอลเลย์บอลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชภาวะโลกร้อนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระจันทร์ฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม