สถาปัตยกรรมโรมัน

สถาปัตยกรรมโรมัน (อังกฤษ: Architecture of ancient Rome) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของโรมันโบราณที่ประยุกต์มาจากสถาปัตยกรรมกรีกตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชมาเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมของตนเอง ลักษณะสถาปัตยกรรมทั้งสองถือว่าเป็น “สถาปัตยกรรมคลาสสิก

โคลอสเซียมในกรุงโรม

นอกจากลักษณะสถาปัตยกรรมที่นำมาจากกรีกแล้วโรมันยังรับอิทธิพลเกี่ยวเนื่องเช่นการสร้าง “ห้องทริคลิเนียม” (Triclinium) ในคฤหาสน์โรมันเป็นห้องกินข้าวอย่างเป็นทางการ และจากผู้ที่มีอำนาจมาก่อนหน้านั้น--วัฒนธรรมอีทรัสคัน--โรมันก็นำความรู้ต่างทางสถาปัตยกรรมมาประยุกต์ใช้เช่นการใช้ระบบไฮดรอลิคและการก่อสร้างซุ้มโค้ง

ปัจจัยทางสังคมเช่นความมั่งคั่งและจำนวนประชากรที่หนาแน่นในมหานครทำให้โรมันต้องพยายามหาหนทางใหม่ในการแก้ปัญหาทางสถาปัตยกรรมอันเป็นผลที่ตามมา การใช้ ยอดโค้ง (Vault) และ ซุ้มโค้ง ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับวัสดุสำหรับการก่อสร้างเป็นต้นที่สามารถทำให้โรมันประสบกับความสำเร็จเช่นที่ไม่เคยมีมาก่อนในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตน่าประทับใจสำหรับสาธารณชน ตัวอย่างเช่นสะพานส่งน้ำโรมัน โรงอาบน้ำไดโอคลีเชียน และ โรงอาบน้ำคาราคัลลา บาซิลิกา และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือโคลอสเซียมในกรุงโรม ซึ่งกลายมาเป็นแบบจำลองในการสร้างสถาปัตยกรรมแบบเดียวกันที่มีขนาดย่อมกว่าตามมหานครและนครต่าง ๆ ไปทั่วทั้งจักรวรรดิ สิ่งก่อสร้างบางชิ้นก็ยังหลงเหลืออยู่ในรูปแบบที่เกือบสมบูรณ์เช่นกำแพงเมืองลูโกในฮิสปาเนียทาร์ราโคเนนซิสทางตะวันตกเฉียงเหนือของสเปน

การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอันใหญ่โตนอกจากจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถทางสถาปัตยกรรมแล้วก็ยังเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อถึงความเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิโรมันอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากตึกแพนธีอันโดยเฉพาะในการสร้างใหม่ตามแบบของจักรพรรดิเฮเดรียนที่ยังคงตั้งอยู่อย่างสง่างดงามเช่นเมื่อสร้างใหม่ นอกจากแพนธีอัน จักรพรรดิเฮเดรียนก็ยังทรงทิ้งร่องรอยทางสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่ไว้ทางตอนเหนือของบริเตนในรูปของกำแพงเฮเดรียนที่ใช้เป็นเส้นพรมแดนทางตอนเหนือสุดของจักรวรรดิ และเมื่อพิชิตสกอตแลนด์เหนือขึ้นไปจากกำแพงเฮเดรียนได้ ก็ได้มีการสร้างกำแพงอันโตนินขึ้น

อ้างอิง

แก้
  • Adam, Jean-Pierre, Roman Building: Materials and Techniques, Indiana University Press, 1994
  • Fletcher, Banister; Cruickshank, Dan, Sir Banister Fletcher's a History of Architecture, Architectural Press, 20th edition, 1996 (first published 1896). ISBN 0-7506-2267-9. Cf. Part Two, Chapter 10.
  • Lancaster, Lynne C., Concrete Vaulted Construction in Imperial Rome, Cambridge University Press, 2005
  • MacDonald, William L., The Architecture of the Roman Empire I: An Introductory Study, Yale University Press, 1982
  • MacDonald, William L., The Architecture of the Roman Empire II: An Urban Appraisal, Yale University Press, 1986
  • Rowland, Ingrid D.; Howe, Thomas Noble, Vitruvius: Ten Books on Architecture, Cambridge University Press, 1999
  • Sear, Frank, Roman Architecture, Cornell University Press, 1989
  • Wilson-Jones, Mark, Principles of Roman Architecture, Yale University Press, 2000

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมโรมัน

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาอสมทรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024โฉมฉาย ฉัตรวิไลศิริลักษณ์ คองราชวงศ์จักรีอาณาจักรอยุธยาอริยสัจ 4บรรยิน ตั้งภากรณ์ประเทศไทยพงษ์สิทธิ์ คำภีร์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ประเทศโบลิเวียรายชื่อวิดีโอบนยูทูบที่มียอดผู้ชมมากที่สุดชัยวัฒน์ สถาอานันท์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปตารางธาตุพระอภัยมณีวอลเลย์บอลอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยลานีญาแบล็กพิงก์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์รายชื่อเครื่องดนตรีณฐพร เตมีรักษ์