สังฆราช

สังฆราช คือพระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล[1] ในแต่ละประเทศ เช่น ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศกัมพูชา มักมีพระสังฆราชเป็นของตน พระสังฆราชอาจเป็นประมุขเฉพาะคณะสงฆ์นิกายหนึ่งหรือเป็นประมุขคณะสงฆ์ทั้งปวงทุกนิกายในประเทศนั้น (ซึ่งเรียกว่าสกลมหาสังฆปริณายก[2]) คำว่า สังฆราช เป็นคำสมาสจากคำว่า สงฺฆ (พระสงฆ์) + ราช (พระราชา) ซึ่งแปลว่า พระราชาแห่งคณะสงฆ์

ประเทศไทย

แก้

พระสังฆราชของประเทศไทยเรียกว่า สมเด็จพระสังฆราช และมีตำแหน่งเป็นสกลมหาสังฆปริณายก เพราะทรงเป็นประมุขปกครองบัญชาการคณะสงฆ์ทุกนิกายในประเทศไทย และมีพระอิสริยยศเสมอด้วยพระองค์เจ้าต่างกรม พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ฉบับปัจจุบันให้พระมหากษัตริย์ไทยเป็นผู้สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช[3]

สมเด็จพระสังฆราชไทยพระองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร) ซึ่งดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560[4]

ประเทศกัมพูชา

แก้

ช่วง พ.ศ. 2398-2524 ประเทศกัมพูชามีสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์ คือฝ่ายมหานิกายและฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการรวมคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายเป็นหนึ่งเดียว โดยมีสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) เป็นประมุข[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสถาปนาบัวร์ กรี เป็นสมเด็จพระอภิสิรีสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี สมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้คณะสงฆ์กัมพูชาแบ่งการปกครองเป็นสองนิกายอีกครั้ง[6] โดยสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) เป็นประมุขเฉพาะฝ่ายมหานิกาย และในปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์) ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี และสมเด็จนนท์ แงด ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆนายกฝ่ายมหานิกายสืบแทนมาจนปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศกัมพูชาจึงมีสมเด็จพระมหาสังฆราช 2 พระองค์

อ้างอิง

แก้
  • Harris, Ian (August 2001), "Sangha Groupings in Cambodia", Buddhist Studies Review, UK Association for Buddhist Studies, 18 (I): 65–72
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546, หน้า 1160
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, หน้า 1110
  3. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช, ตอนที่ 5ข, เล่ม 134, วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560, หน้า 1-3
  5. (Harris 2001, p. 75)
  6. (Harris 2001, p. 77)
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาอสมทโฉมฉาย ฉัตรวิไลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ชัยวัฒน์ สถาอานันท์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)บรรยิน ตั้งภากรณ์สมชาย วงศ์สวัสดิ์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอริยสัจ 4วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ราชวงศ์จักรีพระอภัยมณีอาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุวอลเลย์บอลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอิน-จันนิราศภูเขาทองกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์สุรเชษฐ์ หักพาลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอาณาจักรสุโขทัยทวีปยุโรป