รัฐไบเอิร์น

(เปลี่ยนทางจาก บาวาเรีย)

ไบเอิร์น (เยอรมัน: Bayern) หรือในภาษาอังกฤษเรียก บาวาเรีย (อังกฤษ: Bavaria) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น (เยอรมัน: Freistaat Bayern, [ˈfʁaɪʃtaːt ˈbaɪɐn] ( ฟังเสียง); บาวาเรีย: Freistoot Boarn) เป็นหนึ่งในสิบหกรัฐของประเทศเยอรมนี ถือเป็นรัฐที่มีอาณาเขตใหญ่ที่สุดในประเทศเยอรมนี อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีประชากรประมาณ 12.5 ล้านคน[4] มีพื้นที่ประมาณ 70,548 ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงคือเมืองมิวนิก เชื้อสายประชากรเป็นชาวไบเอิร์น 6.4 ล้านคน, ฟรังโคเนีย 4.1 ล้านคน, และสวาเบีย 1.8 ล้านคน

เสรีรัฐไบเอิร์น

Freistaat Bayern  (เยอรมัน)
Freistoot Bayern  (บาวาเรีย)
ธงเสรีรัฐไบเอิร์น

ธงเสรีรัฐไบเอิร์น
ธง
ตราราชการของเสรีรัฐไบเอิร์น
ตราอาร์ม
เพลง: Bayernhymne  (เยอรมัน)
"สดุดีไบเอิร์น"
แผนที่
พิกัด: 48°46′39″N 11°25′52″E / 48.77750°N 11.43111°E / 48.77750; 11.43111
ประเทศเยอรมนี
เมืองหลวงมิวนิก
การปกครอง
 • องค์กรลันท์ทาคแห่งรัฐไบเอิร์น
 • มุขมนตรีMarkus Söder (ซีเอสยู)
 • พรรคการเมืองซีเอสยู / เอฟดับเบิลยู
 • สมาชิกบุนเดิสทาค6 คน (จาก 69 คน)
พื้นที่
 • รวม70,550.19 ตร.กม. (27,239.58 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2019-12-31)[1]
 • รวม13,124,737 คน
 • ความหนาแน่น186 คน/ตร.กม. (480 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมบาวาเรีย
ประชากร
 • ภาษาทางการ
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัส ISO 3166DE-BY
GRP (nominal)€633 billion (2019)[2]
GRP per capita€48,000 (2019)
NUTS RegionDE2
HDI (2018)0.947[3]
very high · 6th of 16
เว็บไซต์https://www.bayern.de

บาวาเรียเป็นหนึ่งในรัฐที่เก่าแก่ที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป และถือเป็นรัฐเยอรมันที่มั่งคั่งรัฐหนึ่ง ก่อตั้งขึ้นเป็นดัชชีในกลางคริสศตวรรษที่ 17 ดยุกแห่งบาวาเรียเป็นหนึ่งในเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ซึ่งมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ต่อมาในปีค.ศ. 1806 บาวาเรียยกฐานะขึ้นเป็นราชอาณาจักรบาวาเรียภายใต้ระบอบกษัตริย์ และเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิเยอรมันในปีค.ศ. 1871 เมื่อเยอรมนีพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระเจ้าลูทวิชที่ 3 แห่งบาวาเรีย จำยอมต้องสละราชสมบัติ บาวาเรียจึงปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐนับตั้งแต่นั้น โดยมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เสรีรัฐไบเอิร์น

เขตการปกครอง

แก้
ส่วนภูมิภาคของรัฐบาวาเรีย

รัฐไบเอิร์นแบ่งออกเป็น 7 ส่วนภูมิภาคเทียบเท่าจังหวัดที่เรียกว่า เรกีรุงชเบเซิร์ค อันประกอบด้วย:

  1. โอเบอร์ฟรังเคิน (Oberfranken)
  2. มิทเทิลฟรังเคิน (Mittelfranken)
  3. อุนเทอร์ฟรังเคิน (Unterfranken)
  4. ชวาเบิน (Schwaben)
  5. โอเบิร์พฟัลทซ์ (Oberpfalz)
  6. โอเบอร์ไบเอิร์น (Oberbayern)
  7. นีเดอร์ไบเอิร์น (Niederbayern)

เมืองใหญ่

แก้

รายชื่อเมืองใหญ่สุดในรัฐไบเอิร์น

เมืองส่วนภูมิภาคประชากร
(2000)
ประชากร
(2015)
เปลี่ยนแปลง
(%)
มิวนิกโอเบอร์ไบเอิร์น1,210,2231,450,381+19.8
เนือร์นแบร์คมิทเทิลฟรังเคิน488,400509,975+4.3
เอาคส์บวร์คชวาเบิน254,982286,374+12.6
เรเกินส์บวร์คโอเบิร์พฟัลทซ์125,676145,465+16.0
อิงก็อลชตัทโอเบอร์ไบเอิร์น115,722132,438+14.8
เวือทซ์บวร์คอุนเทอร์ฟรังเคิน127,966124,873-2.3
เฟือร์ทมิทเทิลฟรังเคิน110,477124,171+12.7
แอร์ลังเงินมิทเทิลฟรังเคิน100,778108,336+7.5
ไบร็อยท์โอเบอร์ฟรังเคิน74,15372,148−2.7
บัมแบร์คโอเบอร์ฟรังเคิน69,03673,331+5.8
อชัฟเฟินบวร์คอุนเทอร์ฟรังเคิน67,59268,986+2.0
ลันทซ์ฮูทอุนเทอร์ไบเอิร์น58,74669,211+17.9
เค็มพ์เทินชวาเบิน61,38966,947+9.1
โรเซินไฮม์โอเบอร์ไบเอิร์น58,90861,844+4.9
น็อย-อุล์มชวาเบิน50,18857,237+14.1
ชไวน์ฟวร์ทอุนเทอร์ฟรังเคิน54,32551,969−4.4

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Bevölkerung: Gemeinden, Geschlecht, Quartale, Jahr". Bayerisches Landesamt für Statistik und Datenverarbeitung (ภาษาเยอรมัน). August 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 December 2020. สืบค้นเมื่อ 29 April 2021.
  2. "GDP NRW official statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 February 2019.
  3. "Sub-national HDI - Area Database - Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
  4. "State population". Portal of the Federal Statistics Office Germany. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-04-28. สืบค้นเมื่อ 2007-04-25.
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาอสมทโฉมฉาย ฉัตรวิไลพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ชัยวัฒน์ สถาอานันท์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)บรรยิน ตั้งภากรณ์สมชาย วงศ์สวัสดิ์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอริยสัจ 4วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ราชวงศ์จักรีพระอภัยมณีอาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุวอลเลย์บอลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอิน-จันนิราศภูเขาทองกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์สุรเชษฐ์ หักพาลพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอาณาจักรสุโขทัยทวีปยุโรป