โอลิมปิกฤดูร้อน 1964

โอลิมปิกฤดูร้อน 1964 หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 18 เป็นงานแข่งขันกีฬาหลายประเภทระหว่างประเทศจัดขึ้นในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 10 ถึง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2507 โตเกียวได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1940 แต่เกียรตินี้ถูกส่งมอบแก่เฮลซิงกิเพราะการรุกรานจีนของญี่ปุ่น ก่อนจะถูกยกเลิกไปในที่สุดเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้เป็นโอลิมปิกครั้งแรกที่จัดในทวีปเอเชีย และเป็นครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ถูกห้ามเข้าร่วมแข่งขันเพราะระบบการถือผิวในกีฬา[2] อย่างไรก็ดี แอฟริกาใต้ได้รับอนุญาตให้เข้าแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 1964 ซึ่งจัดในกรุงโตเกียวเช่นกัน และนับเป็นครั้งแรกที่แอฟริกาใต้เข้าแข่งขันพาราลิมปิก โตเกียวได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 55 ในเยอรมนีตะวันตก เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2502

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 18
ตราสัญลักษณ์โอลิมปิกฤดูร้อน 1964
เมืองเจ้าภาพโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ประเทศเข้าร่วม93
นักกีฬาเข้าร่วม5,151 (4,473 ชาย, 678 หญิง)
ชนิด163 จาก 19 กีฬา (25 สาขา)
พิธีเปิด10 ตุลาคม ค.ศ. 1964
พิธีปิด24 ตุลาคม ค.ศ. 1964
ประธานพิธีเปิด
ผู้จุดคบเพลิง
สนามกีฬาสนามกีฬาแห่งชาติ
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 1964

การแข่งขันครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกที่มีการแพร่ภาพระหว่างประเทศโดยไม่ต้องส่งเทปทางเครื่องบินดังเช่นกรณีของโอลิมปิกฤดูร้อน 1960 สี่ปีก่อนหน้า

การคัดเลือกเมืองเจ้าภาพ

แก้

โตเกียวได้รับสิทธิ์ให้เป็นเมืองเจ้าภาพเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 1959 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 55 ที่มิวนิก ประเทศเยอรมนีตะวันตก โดยผลการตัดสินโตเกียวสามารถเอาชนะดีทรอยต์, เวียนนา และบรัสเซลส์[3]

การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 1964[4]
เมืองประเทศรอบที่ 1
โตเกียว  ญี่ปุ่น34
ดีทรอยต์  สหรัฐ10
เวียนนา  ออสเตรีย9
บรัสเซลส์  เบลเยียม5

ชนิดกีฬา

แก้

19 ชิดกีฬา 25 สาขา, และ 163 รายการ

Note: In the Japan Olympic Committee report, sailing is listed as "yachting".[5]

กีฬาสาธิต

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

แก้
แผนที่แสดงประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

สรุปเหรียญการแข่งขัน

แก้

ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 สหรัฐ36262890
2 สหภาพโซเวียต30313596
3 ญี่ปุ่น*165829
4 เยอรมนี10221850
5 อิตาลี1010727
6 ฮังการี107522
7 โปแลนด์761023
8 ออสเตรเลีย621018
9 เชโกสโลวาเกีย56314
10 สหราชอาณาจักร412218
รวม (10 ประเทศ)134127126387

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Factsheet – Opening Ceremony of the Games of the Olympiad" (PDF) (Press release). International Olympic Committee. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
  2. "Past Olympic Host City Election Results". GamesWeb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2008. สืบค้นเมื่อ 23 September 2008.
  3. "IOC Vote History". Aleksandr Vernik. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2008. สืบค้นเมื่อ 10 October 2014.
  4. "Past Olympic host city election results". GamesBids. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2011. สืบค้นเมื่อ 17 March 2011.
  5. Organizing Committee 1964, pp. 43–44

ผลงานที่อ้างถึง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • "Tokyo 1964". Olympic.org. International Olympic Committee.
  • JOC – 東京オリンピック 1964 เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น
🔥 Top keywords: หน้าหลักลิซ่า (แร็ปเปอร์)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวชาญ พวงเพ็ชร์พระสุนทรโวหาร (ภู่)สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปกองทัพ พีคฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรทักษอร ภักดิ์สุขเจริญการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2563ศิริลักษณ์ คองพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไอยูวอลเลย์บอลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยโฉมฉาย ฉัตรวิไลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชชญานิศ จ่ายเจริญอาณาจักรอยุธยาทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนานิชคุณ ขจรบริรักษ์อริยสัจ 4ราชวงศ์จักรีประเทศสโลวาเกียแบล็กพิงก์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช