ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (อังกฤษ: Khŏr Royal Cup) หรือชื่อเดิม ถ้วยน้อย (เปลี่ยนชื่อในปี พ.ศ. 2506) เป็การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานระดับชั้นที่ 2 ของประเทศไทย โดยจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459 พร้อมกับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. หรือ ถ้วยใหญ่ โดย สโมสรทหารราชวัลลภ ได้ตำแหน่งชนะเลิศในรายการนี้เป็นสโมสรแรก[1]

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข.
ก่อตั้ง2459
ยุติ2558
ประเทศ ไทย
สมาพันธ์เอเอฟซี
ระดับในพีระมิด2 (2459-2538)
3 (2539-2549)
4 (2550-2558)
เลื่อนชั้นสู่ลีกดิวิชั่น 2
ตกชั้นสู่ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค.
ทีมชนะเลิศสุดท้ายสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร (สมัยที่ 1)
(2558)
ชนะเลิศมากที่สุดทหารอากาศ
(18 สมัย)

ในปี 2506 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ทำการเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยใหญ่และฟุตบอลถ้วยน้อยเป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. และได้เพิ่ม ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. เข้ามาตามแบบฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น

ต่อมาเมื่อมีการ จัดการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก ในปี 2539 และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้ระดับชั้นของการแข่งขันถอยลงเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น และเมื่อมีการปรับปรุงการแข่งขัน ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 2 ในปี 2552 จึงได้มีการให้สิทธิ์สโมสรที่ได้ตำแหน่งชนะเลิศ และ รองชนะเลิศ เลื่อนชั้นเข้ามาทำการแข่งขัน โดยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว

ต่อมาในปี 2559 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้มีนโยบายในการปรับปรุงการแข่งขันระดับสโมสร จึงได้มีการยุบรวมฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[2] ประกอบกับทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

ประวัติ

แก้

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรครั้งแรกในประเทศ โดยมีชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง ขึ้นเมื่อปี 2458 โดยสโมสรที่เข้าร่วม ส่วนใหญ่เป็นสโมสรของทหาร ตำรวจ เสือป่า และข้าราชบริพาร[3]

ต่อมา เมื่อมีการสถาปนา คณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลแด่สโมสรชนะเลิศ ก็คือ ถ้วยใหญ่ และ ถ้วยน้อย ให้แก่คณะฯ เพื่อจัดการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ชิงถ้วยพระราชทานประจำปี ณ สนามเสือป่า โดยสโมสรชนะเลิศจะได้นำไปครอบครองเป็นเวลา 1 ปี โดยเริ่มต้นจัดขึ้น ในช่วงเดือนกันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน[1]

เปลื่ยนชื่อการแข่งขัน

แก้

ต่อมา ในปี 2505 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยพระราชทานเพิ่มเติม คือ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ค. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ง. ทำให้ต้องมีการเปลี่ยนชื่อ ฟุตบอลถ้วยใหญ่ และ ฟุตบอลถ้วยน้อย เป็น ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. โดยยึดหลักตามแบบ ฟุตบอลลีกของประเทศอังกฤษในขณะนั้น[3]

ปรับปรุงการแข่งขัน

แก้

ต่อมาในปี 2539 เมื่อ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการปรับปรุงการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสร ให้มีความเป็นมืออาชีพ จึงได้มีการแข่งขัน ไทยแลนด์ลีก และ ไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี 2540 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. ต้องลดระดับและความสำคัญ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับกึ่งสมัครเล่น แต่ก็ได้มีการให้สิทธิ์สโมสรที่ได้ตำแหน่งรองชนะเลิศ มาเพลย์ออฟเลื่อนชั้นกับสโมสรที่จบอันดับรองสุดท้ายในตารางของ ดิวิชั่น 1 (2540-2541) ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะให้ทั้งสโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เลื่อนชั้นทั้งคู่[4]

ต่อมาเมื่อมีการจัดการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ในปี 2549 โดยมีการคัดเลือกสโมสรที่ไม่ได้จบด้วยตำแหน่งชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน เข้ามาร่วมทำการแข่งขัน ก็ทำให้ระดับการแข่งขัน ลดขั้นลงไปอีก[5] เนื่องในเวลานั้น อยู่ในช่วงการปรับโครงสร้างของลีก

เมื่อมีการปรับปรุงการแข่งขัน ดิวิชั่น 2 ให้เป็นรูปแบบลีกภูมิภาค ทำให้มีการกำหนดการเลื่อนชั้นตกชั้น โดยให้ สโมสรชนะเลิศ และ รองชนะเลิศของการแข่งขัน ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (ในบางปี จำนวนสโมสรที่เลื่อนชั้นอาจจะมีการเปลื่ยนแปลง) โดยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างเต็มตัว

ในปี 2559 สมาคมฯ ได้ทำการยุบการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข., ค. และ ง. โดยรวมกันเป็น ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น 3[2] ต่อมา ทางสมาคมฯ ได้โอน ถ้วยพระราชทานประเภท ก. ไปเป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ไทยลีก ถ้วยพระราชทานประเภท ข. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ค. เป็นถ้วยสำหรับสโมสรชนะเลิศ ดิวิชั่น 2 และ ถ้วยรางวัลพระราชทานประเภท ง. เป็นถ้วยสำหรับแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทำให้การแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน สิ้นสุดลง

รายนามสโมสรชนะเลิศ

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลถ้วยน้อย (2459-2504) และ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2505-2539) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสองของประเทศ[6]

ฟุตบอลถ้วยน้อย (2459-2504)

แก้
ครั้งที่ประจำปีสโมสรชนะเลิศ
12459สโมสรทหารราชวัลลภ
22460สโมสรกรมมหรสพ
32461สโมสรกรมมหรสพ
42462สโมสรกรมมหรสพ
52463สโมสรโรงเรียนนายเรือ
62464สโมสรมณฑลนครไชยศรี
72465สโมสรกรมมหรสพ
82466สโมสรกรมมหรสพ
92467สโมสรกรมมหรสพ
102468สโมสรหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์
112469สโมสรหนังสือพิมพ์ศรีกรุง
122470สโมสรกองเดินรถ
132471สโมสรโรงเรียนกฎหมาย
142472สโมสรไปรษณีย์
152473สโมสรอัสสัมชัญ
ปี 2475 - 2490 ไม่มีการแข่งขัน
162491สโมสรชายสด
172492สโมสรทหารอากาศ
182493สโมสรทหารอากาศ
192494สโมสรทหารอากาศ
202495สโมสรมุสลิม
212496สโมสรตำรวจ
222497สโมสรตำรวจ
ปี 2498 ไม่มีการแข่งขัน
232499สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ
242500สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ
252501สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ
262502สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์ฯ
272503เทศบาลนครกรุงเทพ
282504สโมสรทหารอากาศ
292505สโมสรทหารอากาศ
302506สโมสรธนาคารกรุงเทพ

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2505-2539)

แก้
ครั้งที่ประจำปีสโมสรชนะเลิศ
312507สโมสรทหารอากาศ
322508สโมสรทหารอากาศ
332509สโมสรธนาคารกรุงเทพ
342510สโมสรทหารอากาศ
352511สโมสรธนาคารกรุงเทพ
362512สโมสรธนาคารกรุงเทพ
372513สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
382514สโมสรธนาคารกรุงเทพ
392515สโมสรทหารอากาศ - สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย (ชนะเลิศร่วมกัน)
402516สโมสรทหารอากาศ
412517สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย - สโมสรธนาคารไทยพาณิชย์ (ชนะเลิศร่วมกัน)
422518สโมสรทหารอากาศ - สโมสรธนาคารไทยพาณิชย์ (ชนะเลิศร่วมกัน)
432519สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
442520สโมสรทหารอากาศ
452521สโมสรธนาคารกรุงเทพ
462522สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
472523สโมสรทหารบก
482524สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย - สโมสรตำรวจ
492525สโมสรทหารอากาศ
502526สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
512527สโมสรไทยน้ำทิพย์
522528สโมสรทหารอากาศ
532529สโมสรทหารอากาศ
542530สโมสรทหารอากาศ
552531สโมสรตำรวจ
562532สโมสรทหารอากาศ
572533สโมสรธนาคารกสิกรไทย
582534สโมสรทหารอากาศ
592535สโมสรการท่าเรือแห่งประเทศไทย
602536สโมสรธนาคารกรุงไทย
612537สมาคมสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ
622538สโมสรราชวิถี
632539สโมสรจังหวัดระยอง

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2540-2549)

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2540-2549) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสามของประเทศ[6]

ครั้งที่ประจำปีสโมสรชนะเลิศ
642540สโมสรธนาคารทหารไทย
652541สโมสรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
662542โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
672543สมาคมกีฬากรุงเก่า
682544เทศบาลตำบลบางพระ
692545โรงเรียนจ่าอากาศ
702546สมาคมกีฬาไทยฮอนด้า
712547/48[7]สโมสรราชวิถี
722549หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2550-2558)

แก้

รายนามทำเนียบสโมสรชนะเลิศการแข่งขัน ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานประเภท ข. (2550-2558) ในการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรระดับสี่ของประเทศ[6]

สโมสร เจ ดับบลิว กรุ๊ป สโมสรชนะเลิศ ถ้วย ข. ประจำปี 2556
ครั้งที่ปีสโมสรชนะเลิศ
732550/51สโมสรราชประชา
742551มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
752552หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
762553สมาคมพนักงานหลักทรัพย์โกลเบล็ก
772554สมาคมกีฬาบางกอกกล๊าส
782555สโมสรจังหวัดระยอง
792556สโมสร เจ ดับบลิว กรุ๊ป
802557กรมสวัสดิการทหารบก
812558สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 http://www.vajiravudh.ac.th/OVtoVC/OVtoVC_85.htm ๘๕. คณะฟุตบอลแห่งชาติสยาม (๕) - วชิราวุธวิทยาลัย
  2. 2.0 2.1 https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/41244 “ทนายอ๊อด” เตรียมยื่นร้อง กกท. หลังส.บอลจัด ดี3 - PPTV 36
  3. 3.0 3.1 http://www.siamfootball.com/index.php/2017-07-18-12-23-04/35-2017-07-19-13-29-52 บทความ เรื่อง "ถ้วยใหญ่แห่งสยามประเทศ" - SiamFootball
  4. http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=121026.0;wap2 เก็บถาวร 2021-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน มาดูคู่ชิงถ้วย ข ตั้งปต่ปี 2539-ปัจจุบัน - ไทยแลนด์สู้ๆ
  5. http://www.bccfootballclub.com/about_us/index.php เก็บถาวร 2017-12-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประวัติสโมสรฟุตบอลกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  6. 6.0 6.1 6.2 http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=64633.10;wap2 เก็บถาวร 2021-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ทำเนียบแชมป์ถ้วยพระราชทานประเภท ข - ไทยแลนด์สู้ๆ
  7. https://web.archive.org/web/20070429070822/http://sport.awd-rta.com/th/index.php?option=com_content&task=view&id=12&Itemid=43 สโมสรกรมสวัสดิการทหารบก (ถ้วย ข ประจำปี 2547-2548)

ดูเพิ่ม

แก้
🔥 Top keywords: โฉมฉาย ฉัตรวิไลหน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอันดับโลกเอฟไอวีบีราชวงศ์จักรีมัณฑนา หิมะทองคำพระอภัยมณีทรีจี (วงดนตรี)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลดราก้อน ไฟว์แกเร็ท เซาท์เกตพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโกปาอาเมริกาประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโกปาอาเมริกา 2024วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ประวัติศาสตร์ไทยนิราศภูเขาทองตารางธาตุวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023ทวีปยุโรป