ภาษาพวน

ภาษาพวน หรือ ภาษาลาวพวน เป็นภาษาในตระกูลขร้า-ไทที่มีผู้พูดในประเทศไทย ลาว และกัมพูชา[1][2]โดยเป็นภาษาของชาวไทพวนหรือลาวพวน คำศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาลาวและภาษาไทยถิ่นอีสานมากกว่าภาษาไทยภาคกลางและเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกันกับภาษาผู้ไทมาก มีเสียงพยัญชนะ 20 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง มีเสียงควบกล้ำเฉพาะ /คฺว/ เท่านั้น สระมี 21 เสียง เป็นสระเดี่ยว 18 เสียง สระประสม 3 เสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง

ภาษาพวน
ພວນ, พวน
ประเทศที่มีการพูดประเทศไทย, ประเทศลาว
ชาติพันธุ์ชาวพวน
จำนวนผู้พูด300,000  (2003–2009)[1]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรพวน, อักษรลาว, อักษรไทย, อักษรธรรมลาว
รหัสภาษา
ISO 639-3phu

ลักษณะเด่นของคำพวนเช่น ถ้าใช้ ก เป็นตัวสะกดจะไม่ออกเสียงตัวสะกด ดังเช่น หูก พวนออกเสียงเป็น หุ ปาก พวนออกเสียงเป็น ปะ แบก พวนออกเสียง แบะ

ส่วนคำที่ใช้สระใอไม้ม้วน (สระ ใ-) จะออกเสียงเป็น สระเออ เช่น บ้านใต้ พวนออกเสียงเป็น บ้านเต้อ ใกล้ พวนออกเสียงเป็น เค่อ ให้ พวนออกเสียงเป็น เห้อ ส่วนสระไอไม้มลาย (สระ ไ-) จะออกเสียงตามรูป เช่น ผัดไทยใส่ไข่ พวนออกเสียงเป็น ผัดไทยเส่อไข่ จะไม่พูดว่า ผัดเทอเส่อเข่อ ไม่มีเสียง ช ซึ่งจะออกเสียงเป็น ซ แทน เช่น ช้าง เป็น ซ้าง ช่วย เป็น ซ่อย ไม่มีเสียง ร ซึ่งมักจะออกเป็น ฮ แทน เช่น เรือน เป็น เฮือน ร่ำเรียน เป็น ฮ่ำเฮียน ไร่นา เป็น ไฮ่นา การออกเสียง ย และ ญ ลักษณะการออกเสียงของภาษาไทยนั้น ลิ้นจะอยู่กลางปาก แต่การออกเสียงของคนพวน ลิ้นจะแตะเพดานปากด้านหน้า

ตัวอย่างคำ[3][4][5]

แก้
พวนลาวไทยอีสาน
คึดญะหนักใจหนักใจหนักใจ
คึดฮู้คึดฮอดคิดถึงคึดฮอด
เจ้าเป็นไทบ้านเลอ [6]เจ้าเป็นไทบ้านใดคุณเป็นคนบ้านไหนเจ้าเป็นคนบ้านใด
เจ๊าแม่นเผอเจ้าแม่นใผคุณเป็นใครเจ้าเป็นใผ
บ๊าจ๊อนกะฮอกกระรอกกระฮอก
บ๊าแฮ้งอี่แฮ้งอีแร้งอีแฮ้ง
โบ่ง/ซ้อนบ่วงช้อนบ่วง/ซ้อน
ป่วงสืบต่อเดินทางเที่ยวไปเรื่อยเที่ยวไปเรื่อย
ป่องเอี๊ยมป่องเหยี้ยมหน้าต่างหน้าต่าง
ไปกะเลอ/ไปเก๋อไปใสไปไหนไปใส
ไปแท้บ่ไปอี่หลีบ่ไปจริง ๆ หรือไปอีหลีบ่
ไปนำกันบ๊อไปนำกันบ่ไปด้วยกันไหมไปด้วยกันบ่
เผอใผใครใผ
มันอยู่กะเลอบุ๊มันอยู่ใสบ่ฮู้มันอยู่ไหนไม่รู้มันอยู่ใสบ่ฮู้
มากันหลายหน่อล้ามากันหลายคือกันน้อมากันเยอะเหมือนกันนะมากันหลายเหมือนกันน้อ
มากี๊ท้อมานี้เทาะมานี่เถอะมานี่เถาะ
หน้าแด่นหน้าผากหน้าผากหน้าผาก
หม่าทันหมากกะทันพุทราบักทัน
หม่ามี้หมากมี้ขนุนบักมี้
หม่าหุ่งหมากหุ่งมะละกอบักหุ่ง
หัวเจอหัวใจหัวใจหัวใจ
เห้อให้ให้ให้
เอ็ดผิเลอ/เอ็ดหังก้อเฮ็ดหยังทำอะไรเฮ็ดอีหยัง
ฮักฮักรักฮัก

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ภาษาพวน ที่ Ethnologue (25th ed., 2022)
  2. Schliesinger, Joachim (8 October 2011). Ethnic Groups of Cambodia, Volume 3: Profile of the Austro-Thai-and Sinitic-Speaking Peoples. White Lotus Co Ltd. ISBN 978-9744801791. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  3. :: ประเพณี-วิถีชีวิต :: ไทยพวน[ลิงก์เสีย]
  4. "ชนชาติไทยพวน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-16. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  5. "วัฒนธรรมไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-21. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  6. "ชาวพวนในภาคกลางและประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-26. สืบค้นเมื่อ 2010-02-27.
  • วีระพงศ์ มีสถาน. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ พวน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท. 2539.
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาอสมทรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024โฉมฉาย ฉัตรวิไลศิริลักษณ์ คองราชวงศ์จักรีอาณาจักรอยุธยาอริยสัจ 4บรรยิน ตั้งภากรณ์ประเทศไทยพงษ์สิทธิ์ คำภีร์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ประเทศโบลิเวียรายชื่อวิดีโอบนยูทูบที่มียอดผู้ชมมากที่สุดชัยวัฒน์ สถาอานันท์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปตารางธาตุพระอภัยมณีวอลเลย์บอลอาณาจักรสุโขทัยรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยลานีญาแบล็กพิงก์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์รายชื่อเครื่องดนตรีณฐพร เตมีรักษ์