มินบัร (อาหรับ: منبر) เป็นแท่นเทศน์ในมัสยิดที่อิหม่าม (ผู้นำละหมาด) ยืนให้คำเทศนา (خطبة, คุตบะฮ์)

มินบัรสมัยออตโตมันในมัสยิดโมลลาเชเลบีที่อิสตันบูล

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ศัพท์นี้มีที่มาจากรากภาษาอาหรับของ ن ب ر n-b-r ("ยก, ทำให้สูงขึ้น"); รูปพหุพจน์ในภาษาอาหรับคือ มะนาบิร (อาหรับ: مَنابِر)[1]

รูปแบบและการใช้งาน

แก้

มินบัรเป็นสัญลักษณ์ที่นั่งของอิหม่ามผู้นำละหมาดในมัสยิดและให้คำเทศนา ในช่วงแรกของอิสลาม ที่นั่งนี้สงวนไว้เฉพาะศาสดามุฮัมมัด และภายหลังคือเคาะลีฟะฮ์ผู้ดำเนินตามท่าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นอิหม่ามของสังคมมุสลิม แต่ภายหลังกลายเป็นมาตรฐานในมัสยิดใหญ่ทั้งหมดและอิหม่ามท้องถิ่นก็เริ่มใช้งานสิ่งนี้ ถึงกระนั้น มินบัรยังคงความสำคัญในฐานะสัญลักษณ์แห่งอำนาจ[2][3]

แม้ว่ามินบัรมีความคล้ายกับแท่นเทศน์ในโบสถ์คริสต์ แต่มีการใช้งานและตำแหน่งคล้ายกับแท่นอ่านในโบสถ์มากกว่า มินบัรตั้งอยู่ทางขวาของเมียะห์รอบ ช่องในกำแพงมัสยิดที่เป็นสัญลักษณ์ทิศทางสักการะ (ในที่นี้ หันหน้าไปที่มักกะฮ์) โดยมักมีรูปร่างเหมือนหอขนาดเล็กที่มีที่นั่งหรือโครงสร้างตรงยอดคล้ายคีออสและมีบันไดขึ้นไปบนนั้น ข้างล่างบันไดมักมีประตูหรือช่องประตู สิ่งที่มินบัรแตกต่างจากแท่นเทศน์ในโบสถ์คริสต์คือบันไดขึ้นมินบัรมักเป็นเส้นตรงแนวเดียวกันกับที่นั่ง[2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. Pedersen, J.; Golmohammadi, J.; Burton-Page, J.; Freeman-Grenville, G.S.P. (2012). "Minbar". ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam (second ed.). Brill.
  2. 2.0 2.1 M. Bloom, Jonathan; S. Blair, Sheila, บ.ก. (2009). "Minbar". The Grove Encyclopedia of Islamic Art and Architecture. Oxford University Press. ISBN 9780195309911.
  3. 3.0 3.1 Petersen, Andrew (1996). "minbar". Dictionary of Islamic architecture. Routledge. pp. 191–192.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Pedersen, J.; Golmohammadi, J.; Burton-Page, J.; Freeman-Grenville, G.S.P. (2012). "Minbar". In Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (eds.). Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Brill.
  • Bloom, Jonathan; Toufiq, Ahmed; Carboni, Stefano; Soultanian, Jack; Wilmering, Antoine M.; Minor, Mark D.; Zawacki, Andrew; Hbibi, El Mostafa (1998). The Minbar from the Kutubiyya Mosque. The Metropolitan Museum of Art, New York; Ediciones El Viso, S.A., Madrid; Ministère des Affaires Culturelles, Royaume du Maroc.
  • Lynette Singer (2008). The Minbar of Saladin. Reconstructing a Jewel of Islamic Art. (London: Thames & Hudson).
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปาณรวัฐ กิตติกรเจริญวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระสุนทรโวหาร (ภู่)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กองทัพ พีคการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาลานีญาศิริลักษณ์ คองรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโฉมฉาย ฉัตรวิไลแบล็กพิงก์ประเทศไทยรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพงษ์สิทธิ์ คำภีร์อาณาจักรอยุธยาฟุตบอลอาเซียนชิงแชมป์เยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปีวอลเลย์บอลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชภาวะโลกร้อนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระจันทร์ฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม