ยุทธการที่อินาบ

ยุทธการที่อินาบ (อังกฤษ: Battle of Inab) เป็นการสู้รบในสงครามครูเสดครั้งที่ 2 ระหว่างกองทัพของราชรัฐแอนติออก/แอสซาสซิน (Assassins) กับกองทัพมุสลิมราชวงศ์เซนกิดส์แห่งอะเลปโป/กองทัพดามัสกัส เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 1149 ที่เมืองอินาบ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศซีเรีย)

ยุทธการที่อินาบ
ส่วนหนึ่งของ สงครามครูเสด

ยุทธการที่อินาบ
วันที่29 มิถุนายน ค.ศ. 1149
สถานที่
ผลฝ่ายมุสลิมชนะ
คู่สงคราม
ราชรัฐแอนติออก
แอสซาสซิน
ราชวงศ์เซนกิดแห่งอะเลปโป
ดามัสกัส
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
แรมงแห่งปัวตีเย 
อาลี อิบน์ วาฟา 
นูร์ อัดดิน เซนกี
อูนูร์แห่งดามัสกัส
กำลัง
1,400[1]6,000
ความสูญเสีย
มากไม่ทราบ

เมื่อบิดาของนูร์ อัดดิน เซนกี (Nur ad-Din Zangi) ผู้สถาปนาราชวงศ์เซนกิดเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1146 นักรบครูเสดจากราชอาณาจักรเยรูซาเลมได้ยกทัพมาตีเมืองดามัสกัส แต่นูร์ อัดดิน เซนกีป้องกันเมืองไว้ได้ กองทัพครูเสดอีกกลุ่มหนึ่งจากแอนติออก นำโดยเรย์มอนด์แห่งแอนติออก (Raymond of Antioch) ได้ยกทัพมาตีเมืองอะเลปโปซึ่งตอนนั้นอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิเซลจุค ปาลยปี ค.ศ. 1148 นูร์ อัดดิน เซนกีจึงยกทัพไปตีเมืองแอนติออกคืนบ้าง แต่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้[2] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1149 เขายกทัพไปตีแอนติออกอีกครั้งและร่วมกับทัพของอูนูร์แห่งดามัสกัส (Mu'in ad-Din Unur) ล้อมป้อมอินาบไว้ เรย์มอนด์ซึ่งถูกปฏิเสธความช่วยเหลือจากรัฐครูเสดอื่น ๆ ยกทัพที่ประกอบด้วยทหารราบ 1,000 นายและอัศวิน 400 นาย[1][2] ไปที่ป้อมอินาบ เขาร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มแอสซาสซินของอาลี อิบน์ วาฟา (Ali ibn-Wafa) เมื่อยกทัพมาถึง นูร์ อัดดิน เซนกีได้ถอนกำลังออกไป ทัพครูเสด/แอสซาสซินจึงตั้งทัพในที่โล่ง ในคืนวันนั้นทัพดังกล่าวได้ถูกทัพมุสลิมล้อมไว้

ในวันที่ 29 มิถุนายน นูร์ อัดดิน เซนกีได้นำทัพเข้าโจมตีทัพของเรย์มอนด์ แม้ว่าเขาจะมีโอกาสหนี แต่เรย์มอนด์ก็ยังคงปักหลักสู้กับทัพมุสลิม[3] เขาเสียชีวิตในสนามรบเช่นเดียวกับอาลี อิบน์ วาฟา ผู้นำแอสซาสซิน ทหารครูเสดส่วนน้อยหนีรอดไปได้ และดินแดนส่วนใหญ่ของแอนติออกถูกนูร์ อัดดิน เซนกียึดโดยไม่มีผู้ใดขัดขวาง

หลังการรบ นูร์ อัดดิน เซนกีได้ยึดป้อมที่สำคัญหลายแห่งก่อนจะยกทัพไปล้อมแอนติออก มีการเจรจาเกิดขึ้นโดยนูร์ อัดดิน เซนกีจะไม่ทำลายเมืองนี้และคงกำลังทหารบางส่วนเพื่อป้องกันการยึดเมืองคืน แลกกับทรัพย์สินจากท้องพระคลัง จากนั้นก็ยกทัพไปยึดป้อมอะฟามิยะ[4] (Afamiya; ปัจจุบันคือเมืองอะพาเมียในซีเรีย) เมื่อพระเจ้าบอลด์วินที่ 3 (Baldwin III) กษัตริย์แห่งเยรูซาเลมทราบข่าว พระองค์ได้นำทัพและอัศวินเทมพลาร์ไปที่ป้อมดังกล่าว พระเจ้าบอลด์วินที่ 3 และนูร์ อัดดิน เซนกีได้เจรจาจนมีการตกลงเรื่องพรมแดนกันใหม่ระหว่างแอนติออกกับอะเลปโป[4]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Oldenbourg, p 336
  2. 2.0 2.1 Mallett, p 55
  3. Oldenbourg, p 337
  4. 4.0 4.1 Mallett, pp 48–49

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักลิซ่า (แร็ปเปอร์)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวชาญ พวงเพ็ชร์พระสุนทรโวหาร (ภู่)สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปกองทัพ พีคฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ปาณรวัฐ กิตติกรเจริญรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรทักษอร ภักดิ์สุขเจริญการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2563ศิริลักษณ์ คองพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรไอยูวอลเลย์บอลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยโฉมฉาย ฉัตรวิไลพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชชญานิศ จ่ายเจริญอาณาจักรอยุธยาทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนานิชคุณ ขจรบริรักษ์อริยสัจ 4ราชวงศ์จักรีประเทศสโลวาเกียแบล็กพิงก์พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพีรพงศ์ภาณุเดช