รถไฟฟ้าเคเซ

บริษัท รถไฟฟ้าเคเซ จำกัด (ญี่ปุ่น: 京成電鉄株式会社โรมาจิKeisei Dentetsu Kabushiki-gaisha) เป็นบริษัทรถไฟเอกชนรายใหญ่ของญี่ปุ่น ให้บริการระหว่างจังหวัดชิบะและโตเกียว ระหว่างโตเกียวสู่เมืองนาริตะ และชานเมืองทางด้านทิศตะวันออกของโตเกียว เช่น ฟูนาบาชิ นาราชิโนะ ยาจิโยะ และซากูระ และให้บริการรถไฟฟ้าสายด่วนพิเศษที่มีชื่อว่า "สกายไลเนอร์" วิ่งระหว่างสถานีอูเอโนะและสถานีนิปโปริ สู่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ

บริษัท รถไฟฟ้าเคเซ จำกัด
ชื่อท้องถิ่น
京成電鉄株式会社
ชื่อโรมัน
Keisei Dentetsu kabushiki gaisha
ประเภทมหาชน ร่วมทุน
การซื้อขาย
TYO: 9009
นิเคอิ 225 component
ISINJP3278600006 Edit this on Wikidata
อุตสาหกรรมทางรถไฟเอกชน
ก่อตั้ง30 มิถุนายน 1909; 114 ปีก่อน (1909-06-30)
สำนักงานใหญ่ยาวาตะ อิจิกาวะ จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น
บุคลากรหลัก
สึโทมุ ฮานาดะ (ประธาน)
โทชิยะ โคบายาชิ [jp] (ตัวแทนกรรมการบริษัท & ประธานบริษัท)
เจ้าของ
พนักงาน
1,728 (2019)[1]
บริษัทในเครือThe Oriental Land Company (22.06%)
รถโดยสารเคเซ
รถไฟฟ้าชินเคเซ
รถไฟโฮกูโซ
เว็บไซต์www.keisei.co.jp
คะมงของรถไฟฟ้าเคเซ เปิดตัวใน 1964

นอกจากนี้บริษัทรถไฟฟ้าเคเซยังดำเนินกิจการรถโดยสารประจำทางและอสังหาริมทรัพย์ และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทโอเรียนทัลแลนด์ ผู้ดำเนินการโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ต

ประวัติ

แก้

รถไฟฟ้าเคเซก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2452 และเริ่มเปิดให้บริการครั้งแรกในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 โดยให้บริการเส้นทางในบริเวณท้องถิ่นทางทิศตะวันออกของกรุงโตเกียว โดยเส้นทางรถไฟสายหลักสามารถเข้าถึงนาริตะในปี พ.ศ. 2473 และอุเอะโนะ ในปี พ.ศ. 2476

แรกเริ่มนั้นรถไฟฟ้าเคเซใช้รางแคบขนาดความกว้างราง 1.372 เมตร (4 ฟุต 6 นิ้ว ) ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ได้เปลี่ยนมาใช้รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร หรือ 1,435 มม. (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว)

ในปี พ.ศ. 2516 เปิดให้บริการรถไฟฟ้าด่วนพิเศษ "สกายไลเนอร์" บริการสู่ท่าอากาศยานนาริตะในปี พ.ศ. 2521 เมื่อมีการสร้างสถานีรถไฟท่าอากาศยานครั้งแรก (ปัจจุบันคือสถานีฮิงาชิ-นาริตะ) และต่อมาในปี พ.ศ. 2534 ได้เปิดให้บริการสถานีรถไฟท่าอากาศยานแห่งใหม่ซึงสร้างอยู่ใต้ดิน ทำให้สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่อาคารผู้โดยสาร 1 ได้สะดวกยิ่งขึ้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 รถไฟสายสกายไลเนอร์ได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางสายใหม่ "นาริตะสกายแอคเซส" ทำให้ลดเวลาเดินทางสู่ท่าอากาศยานนาริตะได้ถึง 15 นาที โดยใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 36 นาที[2]

เส้นทางบริการ

แก้

รถไฟฟ้าเคเซให้บริการรถไฟฟ้าเป็นระยะทาง152.8 กิโลเมตร (94.9 ไมล์) ประกอบไปด้วยสายหลักหนึ่งสายและสายย่อยอีก 6 สาย[1]

แผนที่ของรถไฟฟ้าเคเซ
ชื่อเส้นทางภาษาญี่ปุ่นปลายทางระยะทางประเภท1
สายหลัก本線
Honsen
เคเซอูเอโนะ – ชุมทางโคะมะอิโนะ67.2 km (41.8 mi)1
ชุมทางโคะมะอิโนะ – ท่าอากาศยานนาริตะ อาคารผู้โดยสาร 12.1 km (1.3 mi)2
สายโอะชิอะเงะ押上線
Oshiage-sen
โอชิอะเงะอะโอะโตะ5.7 km (3.5 mi)1
รถไฟฟ้าเคเซสายชิบะ千葉線
Chiba-sen
เคเซ-ทสึดะนุมะชิบะชูโอ12.9 km (8.0 mi)1
สายชิฮะระ千原線
Chihara-sen
ชิบะชูโอชิฮะระดะอิ10.9 km (6.8 mi)1
รถไฟฟ้าเคเซสายฮิงาชิ-นาริตะ東成田線
Higashi-Narita-sen
เคเซนาริตะฮิงาชินาริตะ7.1 km (4.4 mi)1
สายคานามาจิ金町線
Kanamachi-sen
เคเซทะกะซะโงะเคเซคานามาจิ2.5 km (1.6 mi)1
สายท่าอากาศยานนาริตะ
(เชื่อมต่อ นาริตะสกาย)
成田空港線
Narita-Kūkō-sen
เคเซ-ทะกะซะโงะ – ท่าอากาศยานนาริตะ อาคารผู้โดยสาร 151.4 km (31.9 mi)2
วิ่งวนเคเซ-นาริตะ – ชุมทางโคะมะอิโนะ2(6.0 km (3.7 mi))1
ท่าอากาศยานนาริตะ อาคารผู้โดยสาร 2·3 – อาคารผู้โดยสาร 13(1.0 km (0.6 mi))2
รวมทั้งสิ้น152.8 km (94.9 mi)
สายโครงการ (คาดการณ์ปี 2029)
(ส่วนต่อขยายสายชิฮะระ)สายชิฮะระได – อามาริกิ8.2 km (5.1 mi)1
สัญลักษณ์
  1. "ประเภท" แสดงประเภทการเดินรถภายใต้กฎหมายการเดินรถไฟญี่ปุ่น ประเภทที่ 1 ผู้ดำเนินการเดินรถเป็นเจ้าของรางรถไฟ ในขณะที่ประเภทที่ 2 ผู้ดำเนินการเดินรถแต่มิได้เป็นเจ้าของรางรถไฟ
  2. ในส่วนนี้ในเส้นทางร่วมกับสายหลักและสายฮิงาชิ-นาริตะ
  3. ในส่วนนี้ในเส้นทางร่วมกับสายหลักและสายท่าอากาศยานนาริตะ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "KEISEI Group | IR/Corporate Information". KEISEI Group (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-17.
  2. Skyliner Airport Express : Your travel begins and ends with Skyliner เก็บถาวร 2011-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ทางการ (สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2554)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รถไฟฟ้าเคเซ

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปาณรวัฐ กิตติกรเจริญวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระสุนทรโวหาร (ภู่)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กองทัพ พีคการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาลานีญาศิริลักษณ์ คองรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโฉมฉาย ฉัตรวิไลแบล็กพิงก์ประเทศไทยรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพงษ์สิทธิ์ คำภีร์อาณาจักรอยุธยาฟุตบอลอาเซียนชิงแชมป์เยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปีวอลเลย์บอลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชภาวะโลกร้อนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระจันทร์ฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม