ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน (อังกฤษ: Ralph Waldo Emerson, พ.ศ. 2346–2425) กวีและนักเขียนบทความ เกิดที่เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและเริ่มชีวิตด้วยการเป็นครู ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2372 ได้บวชเป็นพระที่โบสถ์ยูนิทาเรียนในเมืองบอสตัน แต่ด้วยการมีมุมมองที่ถูกมองว่าแปลก เป็นที่น่าถกเถียงกันมากจึงต้องสึก ในปี พ.ศ. 2376 เอเมอร์สันได้เดินทางท่องเที่ยวยุโรปและได้พบกับทอมัส คาร์ลีลย์ (Thomas Carlyle) ซึ่งได้ติดต่อกันอย่างใกล้ชิดต่อมาเป็นเวลาถึง 38 ปี ในปี พ.ศ. 2377 เอเมอร์สันได้ย้ายไปอยู่ที่เมืองคองคอร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์และได้เริ่มแต่ง บทร้อยแก้วกระทบอารมณ์ (Prose rhapsody) ชื่อ “ธรรมชาติ (Nature)”

ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน
เกิด25 พฤษภาคม พ.ศ. 2346
บอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต27 เมษายน พ.ศ. 2425
คอนคอร์ด, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา
อาชีพนักประพันธ์, นักปรัชญา, กวี
สัญชาติ สหรัฐ
แนวร่วมในทางวรรณคดีTranscendentalism

ลายมือชื่อ

เมื่อ พ.ศ. 2379 และบทกวีอื่น ๆ ที่สำคัญอีกหลายชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง “การดำเนินชีวิต (The Conduct of life – พ.ศ. 2403) เอเมอร์สันได้รับการยกย่องว่าเป็นนักอุตรวิสัย หรือนักคิดเหนือธรรมชาติ (transcendentalist) ด้านปรัชญา เป็นนักถือเหตุถือผลทางศาสนาและเป็นผู้สนับสนุนอย่างแรงกล้าในด้านปัจเจกชน

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอสมทสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อาณาจักรสุโขทัยฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปราชวงศ์จักรีอริยสัจ 4พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์วอลเลย์บอลภาวะโลกร้อนรอยรักรอยบาปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลานีญาประวัติศาสตร์ไทยอาณาจักรธนบุรีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)วันอาสาฬหบูชาสงครามโลกครั้งที่สอง