วัฒนธรรมหลงชาน

วัฒนธรรมหลงชาน (จีน: 龙山文化,อังกฤษ: Longshan culture) หรือเรียกว่า วัฒนธรรมดินเผาสีดำ เป็นวัฒนธรรมในช่วงปลายยุคหินใหม่ที่พบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำหวงตอนกลางและตอนปลายแม่น้ำ ในทางตอนเหนือของประเทศจีน ในช่วงประมาณ 3,000-1,900 ปีก่อนคริสตกาล การค้นพบทางโบราณคดีครั้งแรกของวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นที่แหล่งโบราณคดีเฉิงจื่อหยา (Chengziya, 城子崖) ในปีพ. ศ. 2471 เรื่มการขุดค้นในปี พ.ศ. 2473 และ พ.ศ. 2474 วัฒนธรรมนี้ตั้งชื่อตามหมู่บ้านหลงชานที่อยู่ใกล้เคียง (แปลว่า ''ภูเขามังกร'') ในเขตจางชิว ของนครระดับจังหวัดจี่หนาน มณฑลชานตง วัฒนธรรมนี้เป็นที่รู้จักดีจากเครื่องปั้นดินเผาสีดำขัดเงา (หรือเรียก เครื่องปั้นดินเผาเปลือกไข่ - จากความบางของภาชนะ) ช่วงเฟื่องฟูมีการขยายตัวของประชากรสูงสุดในช่วงประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งสร้างด้วยผนังดินอัด และเสื่อมลงในช่วงประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาลจนกระทั่งพื้นที่ตอนกลางพัฒนาไปสู่ วัฒนธรรมเอ้อหลี่โถว (Erlitou culture, 二里头文化) ในยุคสำริด

วัฒนธรรมหลงชาน
Map showing the extent of the วัฒนธรรมหลงชาน
ชื่อภาษาท้องถิ่น龙山文化
ภูมิภาคตอนกลางและตอนปลายแม่น้ำหวง, ประเทศจีน
สมัยยุคหินใหม่
ช่วงเวลา3,000 ถึง 1,900 ปีก่อนคริสตกาล
แหล่งโบราณคดีต้นแบบChengziya
แหล่งโบราณคดีสำคัญTaosi
ก่อนหน้าวัฒนธรรมหย่างเฉา
ถัดไปErlitou culture, Yueshi culture

ประวัติ

แก้
เครื่องปั้นดินเผา(เปลือกไข่)สีดำ วัฒนธรรมหลงชานในมณฑลชานตง
เครื่องใช้ทำจากหินหยกในวัฒนธรรมหลงชาน

ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมหลงชาน คือ ทักษะระดับสูงใน การทำเครื่องปั้นดินเผา รวมถึงรู้จักการใช้แป้นหมุนในการขึ้นรูป การผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่มีผนังบาง และการขัดเงาสีดำ [1] เครื่องปั้นดินเผาสีดำรูปแบบนี้แพร่หลายในจีนตอนเหนือและยังพบในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแยงซี และไกลถึงชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน [2]

กระทั่งคริสต์ทศวรรษที่ 1950 เครื่องปั้นดินเผาสีดำนี้จึงได้ถูกระบุให้เป็นตัวชี้วัดหลักในการวินิจฉัยว่าแหล่งโบราณคดีใดถูกจัดให้เป็นแหล่งวัฒนธรรมหลงชาน [3] [4] ในการตีพิมพ์ครั้งแรกของรายงานสำรวจThe Archaeology of Ancient China ของ กวงจื้อ ชาง ปีพ.ศ. 2506 ซึ่งเป็นฉบับที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในขณะนั้นได้อธิบายถึงแหล่งโบราณคดีเครื่องปั้นดินเผาสีดำทั้งหมดว่าเป็น ขอบฟ้าแห่งหลงชาน (Longshanoid Horizon) โดยเสนอว่าการค้นพบในแหล่งโบราณคดีที่มีรูปแบบวัฒนธรรมที่ค่อนข้างเหมือนกันเหล่านั้นเกิดจากการขยายตัวของวัฒนธรรมจากศูนย์กลางคือบริเวณที่ราบภาคกลางของจีน (จงหยวน) ออกไป[4] [5] แต่จากการค้นพบล่าสุดพบว่ามีความหลากหลายของรูปแบบวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคมากกว่าที่เคยคิดไว้ วัฒนธรรมท้องถิ่นจำนวนมากที่เคยรวมอยู่ในขอบฟ้าแห่งหลงชาน ถูกอธิบายใหม่ให้เป็นวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และคำว่า "วัฒนธรรมหลงชาน" จำกัดไว้เฉพาะพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเหลืองตอนกลางและตอนปลายแม่น้ำเท่านั้น [6] ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมร่วมสมัยเดียวกันในพื้นที่ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำแยงซีถูกระบุเป็นวัฒนธรรมเหลียงจู [4] [6] ในขณะเดียวกันนักวิจัยโบราณคดีก็รับรู้ถึงความหลากหลายภายในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเหลืองโดยการแยกแยะความแตกต่างของภูมิภาคในมณฑลเหอหนาน มณฑลชานซี และ มณฑลฉ่านซี ออกจากมณฑลชานตง (หรือ ที่รวมอยู้ในการจำกัดความของวัฒนธรรมหลงชานแบบเดิม) [6] [7] โดยในรายงานฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สี่ของกวงจื้อ ชาง (พ.ศ. 2529) ได้เปลี่ยนจากแนวคิดแบบเดิมที่มีศูนย์กลางวัฒนธรรมจากที่ราบตอนกลางไปสู่แนวคิดที่ว่าวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาคพัฒนาโดดเด่นขึ้นจากการได้รับการกระตุ้นจากปฏิสัมพันธ์กันระหว่างภูมิภาค ซึ่งเป็นสภาวการณ์ที่เรียกว่า "จักรวาลปฏิสัมพันธ์แบบจีน"[8] [1] นอกจากนี้ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 Yan Wenming ได้เสนอคำว่า "ยุคหลงชาน" เพื่อหมายรวมวัฒนธรรมช่วงปลายยุคหินใหม่ (3 พันปีก่อนคริสต์ศักราช) ทั้งหมดทั่วบริเวณที่ราบภาคกลางเข้าในยุคเดียวกัน [8] [1]

เกษตรกรรม

แก้

พืชที่สำคัญที่สุดคือ ข้าวฟ่างหางหมา แต่ยังพบร่องรอยของ ข้าวฟ่าง Broomcorn ข้าว และ ข้าวสาลี พบเมล็ดข้าวในมณฑลชานตง และ มณฑลเหอหนานทางตอนใต้ พบนาข้าวขนาดเล็กบน คาบสมุทรเหลียวตง และเครื่องมือเฉพาะสำหรับขุด เก็บเกี่ยว และบดเมล็ด [3] [6]

เนื้อสัตว์ที่บริโภคส่วนใหญ่คือ หมู[3] และพบว่ามีการเลี้ยงแกะและแพะในบริเวณ ที่ราบสูงดินเหลือง ในช่วง 4,000 - 3,000 ก่อนคริสต์ศักราช พบทางตะวันตกของมณฑลเหอหนานเมื่อ 2800 ปีก่อนคริสตกาล จากนั้นแพร่กระจายไปทั่วบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลืองตอนกลางและตอนล่าง [4] สุนัขก็ถูกใช้บริโภคเช่นกันโดยเฉพาะในบริเวณมณฑลชานตง วัวมีความสำคัญในการบริโภคน้อยกว่ามากในช่วงนั้น [3] [4]

และมีการผลิตผ้าไหมขนาดเล็กจากการเลี้ยงไหม ซึ่งอยู่ในยุคต้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม [2]

พิธีทางศาสนา

แก้

พบซากของสัตว์จำพวกวัว หมู แกะ และกวาง ถูกเผาเพื่อการทำนายในมณฑลฉ่านซีและเหอหนานทางตอนใต้ [6] [4] พบหลักฐานการบูชายัญมนุษย์ในมณฑลฉ่านซีและที่ราบตอนกลางซึ่งเป็นเรื่องปกติในช่วงปลายสมัยหลงชาน [6] [4]

ช่วงต้น

แก้

การขุดสำรวจในคริสต์ทศวรรษที่ 1950 ในอำเภอฉ่าน ทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน ระบุว่าระยะ เหมียวตี่โกวช่วงหลัง (Miaodigou II) (3000 ถึง 2600 BC) เป็นการเปลี่ยนผ่านจากวัฒนธรรมหย่างเฉาก่อนหน้า สู่วัฒนธรรมหลงชานในมณฑลเหอหนาน นักโบราณคดีส่วนน้อยเสนอว่าระยะช่วงปลายของวัฒนธรรม Dawenkou ในมณฑลชานตงควรกำหนดให้เป็นวัฒนธรรมหย่างเฉาแทน แต่ส่วนใหญ่อธิบายว่าเป็นช่วงแรกของวัฒนธรรมหลงชาน นักวิชาการบางคนยืนยันว่าวัฒนธรรม Dawenkou ตอนปลายควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นช่วงเริ่มต้นของวัฒนธรรมหลงชาน

ในพื้นที่ระยะเหมียวตี่โกวช่วงหลังพบในมณฑลเหอหนานตอนกลางและตะวันตกมณฑลชานซีตอนใต้และหุบเขาแม่น้ำเว่ยในฉ่านซี [6] [9] เครื่องมือและเครื่องปั้นดินเผาที่พบในพื้นที่เหล่านี้ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญจากวัฒนธรรมหย่างเฉาก่อนหน้านี้ การกสิกรรมทวีความเข้มข้นขึ้น(ของการใช้แรงงานและผลิตผล) และการบริโภคเนื้อสัตว์ (หมู สุนัข แกะ และ วัว) เพิ่มขึ้นอย่างมาก [9] ความคล้ายคลึงกันในรูปแบบเครื่องปั้นดินเผาของ วัฒนธรรมหย่างเฉาระยะเหมียวตี่โกวช่วงหลัง กับ วัฒนธรรม Dawenkou ช่วงปลาย ในมณฑลเหอหนานทางตะวันออก และ วัฒนธรรม Qujialing ตอนปลาย ในทางใต้ของมณฑลเหอหนาน บ่งบอกถึงการติดต่อทางการค้าระหว่างภูมิภาค [6] นอกจากนี้ยังมีการขยายจากแหล่งโบราณคดี Dawenkou ตอนกลางและตอนปลาย (3500-2600 ปีก่อนคริสตกาล) ไปยังมณฑลเหอหนานตอนกลางและตอนเหนือของมณฑลอานฮุยซึ่งตรงกับยุคของขยายทางทะเลสูงสุด [4]

ช่วงปลาย

แก้

ช่วงปลาย (2600 ถึง 2000 ปีก่อนคริสตกาล) ของวัฒนธรรมหลงชานในบริเวณแม่น้ำฮวงโหตอนกลางมีลักษณะร่วมกับวัฒนธรรมชานตงหลงชานแบบเดิม มีการระบุรูปแบบภูมิภาคหลายสายของแม่น้ำหวงตอนกลางว่าเป็น วัฒนธรรมหลงชาน รวมถึง Wangwan III ในมณฑลเหอหนานตะวันตก Hougang II ทางตอนเหนือของมณฑลเหอหนานและตอนใต้ของ Hebei Taosi ในลุ่มน้ำ Fen ทางตอนใต้ของ Shanxi และอีกหลายกลุ่มที่อยู่ทางตอนกลางของ Jing แม่น้ำและแม่น้ำ Wei เรียกรวมกันว่า Kexingzhuang II หรือ Shaanxi Longshan[6]

เมื่อประชากรยุคหินใหม่ในจีนถึงจุดสูงสุด ลำดับชั้นของการตั้งถิ่นฐานก็พัฒนาขึ้น [8] โดยเฉพาะในภูมิประเทศส่วนที่มีขอบเขตทางกายภาพ เช่น แอ่งที่ลุ่มของ แม่น้ำเฟิน ทางตอนใต้ของมณฑลชานซี แม่น้ำเหลืองทางตะวันตกของมณฑลเหอหนาน (ถูกห้อมล้อมด้วย เทือกเขาจงเตียว และ ภูเขาเสี่ยว ) และที่ราบริมชายฝั่ง Rizhao ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลชานตง ซึ่งสามารถพัฒนาศูนย์กลางชุมชนให้มีขนาดใหญ่มากได้ บางเแห่งมีขนาดมากกว่า 200 เฮกตาร์ (1300 ไร่)[4] แต่ในพื้นที่ที่เปิดกว้างมากขึ้น เช่น ส่วนที่เหลือของมณฑลชานตง ที่ราบตอนกลาง (จงหยวน - ในมณฑลเหอหนาน) และที่ลุ่มแม่น้ำเว่ย ในมณฑลฉ่านซี ศูนย์กลางชุมชนมีจำนวนมากขึ้น แต่มีขนาดเล็กลง (โดยทั่วไปคือ 20 ถึง 60 เฮกตาร์ - 130 ถึง 400 ไร่) และมีระยะห่างระหว่างกันพอสมควร [4] [8] กำแพง ดินแตก ของ 20 เมืองในมณฑลชานตง 9 แห่ง ในที่ราบตอนกลางและ อีกแห่ง ( เถาซี ) ทางตอนใต้ของมณฑลชานซี บ่งบอกถึงความขัดแย้งระหว่างศูนย์กลางชุมชนในพื้นที่เหล่านี้ [8]

แกลเลอรี

แก้

หมายเหตุ – ในการสะกดตามระบบเวด-ไจลส์ วัฒนธรรมหลงชาน (Longshan culture) สะกดว่า วัฒนธรรมลุงชาน (Lungshan culture) ซึ่งยังปรากฏในเอกสารสมัยเก่าบางชิ้น

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Li (2013).
  2. 2.0 2.1 Fairbank & Goldman (2006).
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Sun (2013).
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 Liu (2005).
  5. Shelach-Lavi (2015).
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 6.7 6.8 Zhao (2013).
  7. Shao (2005).
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Liu & Chen (2012).
  9. 9.0 9.1 Cohen & Murowchick (2014).
🔥 Top keywords: พระสุนทรโวหาร (ภู่)หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหารายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอสมทฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอภัยมณีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ศิริลักษณ์ คองฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปณภัทร เสียงสมบุญพระอภัยมณี (ตัวละคร)อริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์สุรเชษฐ์ หักพาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรอยรักรอยบาปโฉมฉาย ฉัตรวิไลพิมพ์ผกา เสียงสมบุญประเทศไทยในวันที่ฝนพร่างพรายตารางธาตุสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475นิราศภูเขาทองวอลเลย์บอลรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอาณาจักรสุโขทัยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์นางสุวรรณมาลีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว