หมู่เกาะภูเขาไฟ

หมู่เกาะภูเขาไฟ (ญี่ปุ่น: 火山列島โรมาจิKazan Rettō) หรือหมู่เกาะอิโว (ญี่ปุ่น: 硫黄列島โรมาจิIō-rettō) เป็นกลุ่มเกาะสามกลุ่มของประเทศญี่ปุ่นในไมโครนีเซีย ตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่เกาะโองาซาวาระ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลโองาซาวาระ มหานครโตเกียว[1][2] เกาะทุกเกาะยังมีภูเขาไฟที่ปะทุอยู่ เป็นเกาะรูปโค้งที่ยาวไปทางใต้จนถึงหมู่เกาะมาเรียนา หมู่เกาะมีพื้นที่ 32.55 ตารางกิโลเมตร (12.57 ตารางไมล์) มีประชากร 380 คน เกาะอิโวจิมะในหมู่เกาะภูเขาไฟตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมิยาซากิประมาณ 1,240 กิโลเมตร (670 ไมล์ทะเล; 771 ไมล์)[3]

หมู่เกาะภูเขาไฟ
ที่ตั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งมหาสมุทรแปซิฟิก
พิกัด24°46′N 141°18′E / 24.767°N 141.300°E / 24.767; 141.300
เกาะทั้งหมด3
พื้นที่32.55 ตารางกิโลเมตร (12.57 ตารางไมล์)
การปกครอง
ญี่ปุ่น
จังหวัดโตเกียว
กิ่งจังหวัดโองาซาวาระ
หมู่บ้านโองาซาวาระ
ประชากรศาสตร์
ประชากร380 คน (มกราคม ค.ศ. 2008)
คิตะอิโวจิมะ
อิโวจิมะ
มินามิอิโวจิมะ
นิชิโนะชิมะ

ภูมิศาสตร์

แก้

หมู่เกาะภูเขาไฟ มีชื่อเรียกดังนี้:

เกาะที่อยู่ทางเหนือกว่าแต่อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือ:

ฐานทัพอากาศที่อิโวจิมะของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นที่หมู่บ้านมินามิมีเจ้าหน้าที่ 380 นาย นอกจากเกาะนี้ก็ไม่มีผู้อาศัยอยู่

  • ฟูกูโตกุ-โอกาโนบะ โดยทั่วไปเป็นภูเขาไฟที่จมอยู่ใต้น้ำ บางครั้งอาจโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิวน้ำ

ประวัติ

แก้

ชาวยุโรปบันทึกการพบเห็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1543 โดยเบร์นาร์โด เด ลา ตอร์เร นักเดินเรือชาวสเปนที่โดยสารบนคาร์แรกชื่อ San Juan de Letrán ขณะเดินทางกลับจากจังหวัดซารังกานีไปยังนิวสเปน[4] อิโวจิมะได้รับการจดบันทึกเป็น Sufre ซึ่งเป็นศัพท์ภาษาสเปนเก่าที่ใช้เรียกกำมะถัน

เมื่อชาวญี่ปุ่นจากหมู่เกาะอิซุเข้าตั้งถิ่นฐานในเกาะทางเหนือ 2 เกาะใน ค.ศ. 1889 หมู่เกาะนี้ยังไม่มีผู้อยู่อาศัย จากนั้นจึงถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1891[1][2] อย่างไรก็ตาม หลักฐานทางโบราณคดีเปิดเผยว่าหมู่เกาะในหมู่เกาะโบนินในอดีตเคยมีขาวไมโครนีเซียที่ไม่ทราบกลุ่มอาศัยมาก่อน[5]

ประชากรบนเกาะเหล่านี้มีประมาณ 1,100 คนใน ค.ศ. 1939 จาก 5 พื้นที่ในอิโวจิมะ ได้แก่: ฮิงาชิ, มินามิ, นิชิ, คิตะ และโมโตยามะ (หมายถึง "ตะวันออก", "ใต้", "ตะวันตก", "เหนือ" และ "ภูเขาต้นกำเนิด" หรือภูเขากลาง) และ 2 พื้นที่ในคิตะอิโวจิมะ คือ: อิชิโนะ-มูระ ("หมู่บ้านอิชิโนะ"; อิชิโนะคือนามสกุล) และนิชิ-มูระ ("หมู่บ้านตะวันตก") สำนักงานบริหารเทศบาลตั้งอยู่ที่ฮิงาชิจนถึง ค.ศ. 1940 ที่มีการถ่ายโอนเทศบาลเข้ากับโองาซาวาระ โตเกียว

อิโวจิมะเป็นที่ตั้งของยุทธการที่อิโวะจิมะในสงครามโลกครั้งที่สอง และกลุ่มเกาะนี้ตกอยู่ภายใต้การบริหารของสหรัฐ จากนั้นหมู่เกาะภูเขาไฟจึงกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1968[1]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "火山列島" [Volcano Islands]. Nihon Daihyakka Zensho (Nipponika) (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2013. OCLC 153301537. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  2. 2.0 2.1 "火山列島" [Volcano Islands]. Nihon Rekishi Chimei Taikei (ภาษาญี่ปุ่น). Tokyo: Shogakukan. 2013. OCLC 173191044. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 25, 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
  3. Google (1 February 2020). "หมู่เกาะภูเขาไฟ" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 1 February 2020.
  4. Brand, Donald D. The Pacific Basin: A History of its Geographical Explorations The American Geographical Society (New York, 1967) p.123.
  5. 小笠原・火山(硫黄)列島の歴史

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Volcano Islands
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอสมทสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อาณาจักรสุโขทัยฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปราชวงศ์จักรีอริยสัจ 4พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์วอลเลย์บอลภาวะโลกร้อนรอยรักรอยบาปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลานีญาประวัติศาสตร์ไทยอาณาจักรธนบุรีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)วันอาสาฬหบูชาสงครามโลกครั้งที่สอง