หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ (3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2537) เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ มีพระเชษฐา พระเชษฐภคินี และพระขนิษฐาร่วมพระบิดาและพระมารดา 4 พระองค์

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์
หม่อมเจ้า ชั้น 4
ประสูติ3 ธันวาคม พ.ศ. 2457
สิ้นชีพตักษัย26 มีนาคม พ.ศ. 2537 (79 ปี)
ชายาหม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ จิตรพงศ์
พระบุตรหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์
หม่อมราชวงศ์กัลยา ติงศภัทิย์
หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน
ราชสกุลจิตรพงศ์
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
พระมารดาหม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์

พระประวัติ

แก้

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายงั่ว ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2457 เป็นพระโอรสลำดับที่ 8 ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ลำดับที่ 4 อันประสูติแต่หม่อมราชวงศ์โต จิตรพงศ์ (ราชสกุลเดิม งอนรถ ) มีพระเชษฐภคินี พระเชษฐา และพระขนิษฐาร่วมพระมารดา 4 พระองค์ คือ [1]

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เป็นพระโอรสพระองค์เดียวที่มิได้มีพระนามลงท้ายด้วย 'ใจ' เช่นพระเชษฐาทั้งสอง (คือหม่อมเจ้าเจริญใจ จิตรพงศ์ และหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์) เหตุที่พระบิดาประทานพระนามพระโอรสว่า เพลารถ เนื่องจากเมื่อหม่อมราชวงศ์หญิงโต จิตรพงศ์ ตั้งครรภ์ หม่อมเจ้าแดง งอนรถ บิดาของหม่อมราชวงศ์หญิงโตได้ทูลขอพระโอรสที่อยู่ในครรภ์จากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เนื่องจากหม่อมเจ้าแดงไม่มีผู้สืบราชสกุล แต่ต่อมา หม่อมวัน งอนรถ หม่อมในหม่อมเจ้าแดง งอนรถได้ให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์เล็ก งอนรถ ทำให้ราชสกุลงอนรถมีผู้สืบราชสกุล แต่เพื่อมิให้ผิดคำสัตย์ที่ทรงให้ไว้กับหม่อมเจ้าแดง งอนรถ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์จึงประทานพระนามแก่พระโอรสองค์นี้ว่า เพลารถ

เมื่อชันษายังไม่ครบสิบชันษา หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ได้ทูลขอว่าจะผนวชกับพระบิดา สมเด็จฯ ประทานอนุญาตให้ผนวช ซึ่งหม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ได้ไปจำพรรษา ณ วัดเทพศิรินทราวาส โดยมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ทรงรอบรู้ในพระบาลีอย่างแตกฉาน และได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ให้เป็นหนึ่งในกรรมการแม่กองบาลีสนามหลวงด้วย

ด้วยความรอบรู้ในพระบาลี หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเคยเทศนาสอน 'หลาน' คือโอรสธิดาในหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ กับหม่อมเจ้าหญิงประโลมจิตร ไชยันต์ (จิตรพงศ์) เมื่อหม่อมเจ้าตระนักนิธิผล ไชยันต์ ถึงชีพิตักษัยในปีพุทธศักราช 2473 เรื่อง "กตัญญูกถา" ซึ่งมีเนื้อความเป็นที่จับใจแก่ผู้ที่ได้ฟังเป็นอันมาก[2]

ในปี พ.ศ. 2474 สามเณรหม่อมเจ้าเพลารถ ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ 3 ประโยค เป็นพัดยศพัดหน้านางพื้นตาดเหลืองล้วน ปักดินเลื้อม[3]

นอกจากนี้หม่อมเจ้าสามเณรเพลารถ ยังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา กัณฑ์ "อตฺตสมฺมาปณิธิกถา" ในงานพระศพพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เพื่อ พ.ศ. 2472 อีกด้วย[4]

ต่อมาเมื่อชันษายี่สิบปี ใน พ.ศ. 2477 หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเป็นนาคหลวง ได้ผนวชเป็นสามเณร ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ถึงวันที่ 19 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. จึงเสด็จโดยรถยนต์หลวงมาอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เสร็จพิธีแล้วสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (ขณะนั้นทรงกรมพระ) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทรงประเคนเครื่องบริขาร[5] ต่อมาทรงเห็นว่าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงชรามากแล้ว ประกอบกับเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จึงทรงลาสิกขา

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์[6]

การทำงาน

แก้

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ทรงเข้าทำงานที่การไฟฟ้านครหลวง ในทำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ดังนี้[7]

15 มีนาคม 2487 เสมียน บริษัทไฟฟ้าสยาม

1 มกราคม 2493 ผู้ช่วยสมุห์บัญชีใหญ่ ไฟฟ้ากรุงเทพ

1 มกราคม 2503 หัวหน้าแผนก แผนกสารบรรณ กองบัญชี การไฟฟ้านครหลวง

20 เมษายน 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง กองบัญชี

1 ธันวาคม 2503 ผู้ช่วยผู้อำนวยการกอง ควบคุมงานงบประมาณเงินกู้

10 สิงหาคม 2504 รองผู้อำนวยการกอง กองการบัญชีและการเงิน

ตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการบัญชีและการเงิน การไฟฟ้านครหลวง

ครอบครัว

แก้
หม่อมเจ้าเพลารถ และหม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ จิตรพงศ์ (ดิศกุล)

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้ากุมารีเฉลิมลักษณ์ ดิศกุล (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2544) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประสูติแต่หม่อมเจิม ดิศกุล ณ อยุธยา มีโอรสธิดา 3 คน คือ

  • หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ (เกิดวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (ดำรงตำแหน่ง 21 ตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2547), กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม[8]สมรสกับ หม่อมราชวงศ์พิศพัฒน์ รัชนี [9] มีบุตรธิดาสามคน ได้แก่
    • หม่อมหลวงสุธานิธิ จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515
    • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หม่อมหลวงจิตตวดี จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2520
    • หม่อมหลวงตรีจักร จิตรพงศ์ เกิดวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 สมรสกับนางกวิตา จิตรพงศ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม กิตติอำพน) มีบุตรหนึ่งคนคือ
      • เด็กชายรถจักร จิตรพงศ์ ณ อยุธยา
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หม่อมราชวงศ์กัลยา ติงศภัทิย์ (รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [10]) (เกิดวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2492) สมรสกับนายจาริต ติงศภัทิย์ (บุตรนายจิตติ ติงศภัทิย์) [11] มีธิดาหนึ่งคนคือ
    • นางสาวรมณียา ติงศภัทิย์ เกิดวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2523
  • หม่อมราชวงศ์เฉลิมลักษณ์ จันทรเสน (7 สิงหาคม พ.ศ. 2498 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2543) สมรสกับ ดร.อภิชัย จันทรเสน มีบุตรสามคน ได้แก่
    • นายอภิชน จันทรเสน เกิดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2523
    • นายอภิราม จันทรเสน เกิดวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2527
    • นายอภิโชค จันทรเสน เกิดวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2535

สิ้นชีพิตักษัย

แก้

หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 สิริพระชันษา 79 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2537 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์มหามกุฎราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรสธิดา พระราชนัดดา. กรุงเทพ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, พ.ศ. 2547. หน้า หน้าที่. ISBN 974-272-911-5
  2. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ พ.ศ. 2537
  3. รายนามพระภิกษุสามเณรเปรียญที่ได้รับพระราชทานพัดยศเปรียญ แผนกทรงตัง พุทธศักราช 2474 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2474/D/700.PDF
  4. ธรรมสมาคม: เทศนาในงานพระศพ พระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนาฎ ปิยมหาราชปดิวรัดา รวม 2 เล่ม 144 กัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และ สมเด้จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอู่ทองเขตต์ขัตติยนารี โปรดให้พิมพ์ในงานพระเมรุท้องสนามหลวง มีนาคม พ.ศ. 2472
  5. "หมายกำหนดการ ทรงผนวชและบวชนาคหลวง กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 51 (0 ง): 1084–1085. 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2477. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-25. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
  7. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมเจ้าเพลารถ จิตรพงศ์ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส พ.ศ. 2537
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
  9. ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ร่วมสร้างแหล่งสืบสานวัฒนธรรมไทยยุคโลกาภิวัตน์ เก็บถาวร 2005-08-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย, 16 กรกฎาคม 2545
  10. ม.ร.ว.กัลยา (จิตรพงศ์) ติงศภัทิย์ ๘๔ ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2002-07-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย, 22 มกราคม 2545
  11. [1] เก็บถาวร 2010-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
🔥 Top keywords: พระสุนทรโวหาร (ภู่)หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหารายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอสมทฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอภัยมณีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ศิริลักษณ์ คองฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปณภัทร เสียงสมบุญพระอภัยมณี (ตัวละคร)อริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์สุรเชษฐ์ หักพาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรอยรักรอยบาปโฉมฉาย ฉัตรวิไลพิมพ์ผกา เสียงสมบุญประเทศไทยในวันที่ฝนพร่างพรายตารางธาตุสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475นิราศภูเขาทองวอลเลย์บอลรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอาณาจักรสุโขทัยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์นางสุวรรณมาลีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว