เคโซ โอบูจิ

เคโซ โอบูจิ (ญี่ปุ่น: 小渕 恵三โรมาจิKeizō Obuchi) (25 มิถุนายน พ.ศ. 2480 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2543) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนที่ 54 ลำดับดับที่ 84 [1]ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึง 12 สมัย ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายริวตาโร ฮาชิโมโตะ ที่ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบที่พรรคพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ขณะมีอายุได้ 62 ปี เคยเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง[2]

เคโซ โอบูจิ
小渕 恵三
นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
ดำรงตำแหน่ง
30 กรกฎาคม 2541 – 5 เมษายน 2543
กษัตริย์สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ
ก่อนหน้าริวตาโร ฮาชิโมโตะ
ถัดไปมิกิโอะ อาโอกิ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มิถุนายน พ.ศ. 2480
จังหวัดกุมมะ,  ญี่ปุ่น
เสียชีวิต14 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (62 ปี)
โตเกียว,  ญี่ปุ่น
พรรคการเมืองพรรคเสรีประชาธิปไตย
คู่สมรสชิซูโกะ โอโนะ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยวาเซดะ


ประวัติ

แก้

นายโอบูจิ เกิดเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่จังหวัดกุมมะ เป็นบุตรคนที่สองของ นายโคเฮ และนางชิโยะ โอบูจิ ทำธุรกิจโรงงานปั่นด้าย เข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวาเซดะ กรุงโตเกียว ขณะศึกษานั้นโอบูจิมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเช็คสเปียร์ แต่สถานการณ์พลิกผันเมื่อนายโคเฮ โอบูจิ ผู้บิดา ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งนายโคเฮเคยได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2492 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งในอีกสามครั้งต่อมา หลังได้รับการเลือกตั้งนายโคเฮ เสียชีวิตลงในอีกเพียง 3 เดือนต่อมา ด้วยเหตุนี้ทำให้ โอบูจิ ที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องก้าวสู่การเมือง ต่อจากบิดา และได้ปฏิญาณตนอย่างซื่อสัตย์ที่จะ "สืบทอดงานของบิดา และตอบแทนบุญคุณของ ผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้" และเมื่อโอบูจิมีอายุครบ 25 ปี ก็ได้ก้าวเข้าสู่วงการเมืองอย่างเต็มตัว[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น (รัฐบาลนายโอบูจิ)
  2. 2.0 2.1 สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น(รัฐบาลนายโอบูจิ ปรับ ครม.ครั้งที่ 2) และประวัตินายกรัฐมนตรีเคโซ โอบูจิ
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอสมทสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อาณาจักรสุโขทัยฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปราชวงศ์จักรีอริยสัจ 4พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์วอลเลย์บอลภาวะโลกร้อนรอยรักรอยบาปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลานีญาประวัติศาสตร์ไทยอาณาจักรธนบุรีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)วันอาสาฬหบูชาสงครามโลกครั้งที่สอง