เอ็ดเวิร์ด สมิธ

ทหารเรือชาวบริติช (ค.ศ. 1850–1912)

เอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ (อังกฤษ: Edward John Smith) (27 มกราคม ค.ศ. 1850 - 15 เมษายน ค.ศ. 1912) เป็นกัปตันเรือที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีผลงานที่โดดเด่นมากก็คือการได้เป็นกัปตันเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก อันเป็นเรือลำสุดท้ายในชีวิตของเขา ที่เขาได้ดำรงตำแหน่งกัปตันจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตบนเรือลำนี้ เรือที่ได้รับฉายาว่า "เรือที่ไม่มีวันจม"

เอ็ดเวิร์ด สมิธ

สมิธ ใน ค.ศ. 1912
เกิดเอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ
27 มกราคม ค.ศ. 1850(1850-01-27)
แฮนลีย์ สแตฟฟอร์ดเชอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต15 เมษายน ค.ศ. 1912(1912-04-15) (62 ปี)
มหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ
สาเหตุเสียชีวิตการอับปางของเรือ ไททานิก
อาชีพกัปตันเรือ, ทหารเรือ
นายจ้างไวต์สตาร์ไลน์
มีชื่อเสียงจากกัปตันเรือ ไททานิก
คู่สมรสซาราห์ อี. เพนนิงตัน (สมรส 1887)
บุตรเฮเลน เมลวิลล์ สมิธ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สหราชอาณาจักร
แผนก/สังกัดกำลังพลสำรองราชนาวี
ชั้นยศนาวาโท
การยุทธ์สงครามบูร์ครั้งที่สอง

ประวัติ

แก้

สมิธเกิดที่เมืองฮันลีย์ สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 1850 ในรัชสมัยของ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เขาเป็นลูกชายของ เอ็ดเวิร์ด สมิธ กับ คาธีริน แฮนคอคค์ ซึ่งครอบครัวของสมิธนั้นมีร้านค้าเป็นของตัวเองในสตาฟฟอร์ดไชร์ สมิธได้เข้าในโรงเรียนอีทรูเรีย บริทิช ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้านในสตาฟฟอร์ดไชร์ จนกระทั่งเขาอายุ 13 ปี ก็ได้เริ่มต้นชีวิตการเดินเรือที่ลิเวอร์พู ต่อมาในปี ค.ศ. 1887 สมิธได้แต่งงานกับ ซาราห์ อีลีนอร์ เพนนิงทัน ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1887 ทั้งสองมีลูกสาวด้วยกันคือ เฮเลน เมลวิลลี สมิธ เธอเกิดที่ วอเตอร์ลู แลนคาไชร์ เมื่อปี ค.ศ. 1898 ครอบครัวของสมิธอาศัยอยู่ใน เซาแธมป์ทัน สหราชอาณาจักร

ไททานิก

แก้
กัปตันสมิธ ผู้บัญชาการเรือไททานิก

กัปตันสมิธได้รับหน้าที่บัญชาการเรือไททานิกเมื่อ ค.ศ. 1912 ซึ่งในขณะนั้น เรือไททานิกถือได้ว่าเป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งการเดินทางไปกับเรือไททานิกของสมิธครั้งนี้ ก็ถือว่าเป็นรอบสุดท้ายก่อนเกษียณของตัวเขาเองอยู่แล้ว เพราะตอนนั้นสมิธอายุได้ปาเข้าไป 62 ปีแล้ว เรือไททานิกเป็นเรือเดินสมุทรของบริษัทไวท์สตาร์ไลน์ มีระวางขับน้ำมากกว่า 50,000 ตัน เรือยาวเกือบ 270 เมตร กว้างกว่า 28 เมตร จุผู้โดยสารได้กว่า 2,000 คน เป็นเรือที่หรูหรามากในยุคนั้น เรือไททานิกได้ออกเดินทางครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 1912 เพื่อแวะตามท่าเรือต่าง ๆ ในบริเวณนั้น แล้วจึงมุ่งหน้าเดินทางไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งในช่วงวันแรกๆของการเดินทางนั้นเป็นไปอย่างราบรื่น จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 ซึ่งในวันนั้น ไททานิกได้รับคำเตือนหลายครั้งเรื่องภูเขาน้ำแข็งในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

วาระสุดท้าย

แก้
เรือไททานิก

ช่วงดึกของวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1912 เมื่อมีการพบภูเขาน้ำแข็งขวางเส้นทางของไททานิก จึงมีการเลี้ยวเรือหลบ ทว่าไม่สามารถหลบได้พ้น ทำให้เรือไททานิกได้แล่นเฉี่ยวชนกับภูเขาน้ำแข็ง ทำให้เกิดรอยรั่วยาวหลายเมตรที่กราบขวาด้านหัวเรือ ส่งผลให้น้ำเริ่มท่วมเข้ามาในตัวเรืออย่างรวดเร็ว หลังจากกัปตันสมิธ โธมัส แอนดรูวส์ วิศวกรผู้ออกแบบไททานิก และวิศวกรคนอื่นๆได้ตรวจดูความเสียหายแล้ว ก็พบว่าเรือไททานิกคงทนอยู่ได้ไม่กี่ชั่วโมง จึงได้มีการขนย้ายผู้คนไปยังเรือบดสำรอง ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบจำนวนผู้โดยสารที่มีมากกว่า 2,000 คน แต่เรือสำรองสามารถจุผู้โดยสารรวมกันได้ประมาณ 1,200 คนเท่านั้น แต่การขนย้ายผู้โดยสารในช่วงแรกเป็นไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งช่วงเที่ยงคืนของวันถัดมา คือ 15 เมษายน ค.ศ. 1912 สถานการณ์เริ่มวุ่นวายเมื่อผู้โดยสารรู้ว่าเรือกำลังจะจม มีการยิงพลุและใช้สัญญาณเอสโอเอส (SOS) เพื่อขอความช่วยเหลือจากเรือลำอื่น แต่ก็ไม่ทันการณ์เมื่อไททานิกได้จมลงสู่ท้องมหาสมุทรแอตแลนติกในเวลาประมาณ 2.00 น. ซึ่งการจมของเรือไททานิกครั้งนี้ มีผู้รอดชีวิตเพียง 700 กว่าคน มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน

และหนึ่งในผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คนนั้นก็คือกัปตันเอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ กัปตันที่ยืนหยัดอยู่กับลูกเรือและผู้โดยสารจนถึงวาระสุดท้ายของเขาเองในวัย 62 ปีในเรือไททานิก ไม่ทราบได้ว่ากัปตันเอ็ดเวิร์ด จอห์น สมิธ เสียชีวิตลงอย่างไรในคืนนั้น แต่มีพยานบอกว่าเขาได้เห็นกัปตันครั้งสุดท้ายเมื่อเข้ามาหานายท้ายบนสะพานและเสียชีวิตที่นั่น ในขณะที่เรือไททานิกจมลงสู่ใต้ผิวน้ำ[1][2][3]

อ้างอิง

แก้
  1. Spignesi, Stephen (2012). The Titanic for Dummies. John Wiley & Sons. p. 207. สืบค้นเมื่อ November 6, 2012.
  2. Bartlett 2011, p. 224.
  3. Ballard, pp. 40–41

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยลิซ่า (แร็ปเปอร์)พิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวปาณรวัฐ กิตติกรเจริญวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปพระสุนทรโวหาร (ภู่)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กองทัพ พีคการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2567ชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาลานีญาศิริลักษณ์ คองรัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรณฐพร เตมีรักษ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีโฉมฉาย ฉัตรวิไลแบล็กพิงก์ประเทศไทยรายชื่อวิดีโอออนไลน์ที่มียอดผู้ชมมากที่สุดใน 24 ชั่วโมงแรกพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพงษ์สิทธิ์ คำภีร์อาณาจักรอยุธยาฟุตบอลอาเซียนชิงแชมป์เยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปีวอลเลย์บอลกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชภาวะโลกร้อนรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระจันทร์ฉาย พี.เค.แสนชัยมวยไทยยิม