แถวลำดับพลวัต

แถวลำดับพลวัต (อังกฤษ: dynamic array) หรืออาจเรียกว่า แถวลำดับที่ขยายได้ (growable array) , แถวลำดับที่เปลี่ยนขนาดได้ (resizable array) , ตารางพลวัต (dynamic table) , รายการแถวลำดับ (array list) หรือ เวกเตอร์ (vector) เป็นรายการประเภทหนึ่ง มีคุณสมบัติการเข้าถึงโดยสุ่มเหมือนแถวลำดับ แต่ต่างจากแถวลำดับธรรมดาตรงที่สามารถขยายขนาดเองได้เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มเข้าไป[1]

แถวลำดับพลวัต
ความสำคัญของลำดับมีความสำคัญ
การซ้ำกันของสมาชิกอนุญาตให้ซ้ำได้
เวลาที่ใช้ค้นหาตามดัชนี
เวลาที่ใช้ค้นหาตามค่า
เวลาที่ใช้ในการเข้าถึง
การทำให้ว่างให้ขนาดเป็น 0
เวลาที่ใช้ทำให้ว่าง
โครงสร้างต้นแบบรายการ
โครงสร้างที่นำไปใช้-
ความซับซ้อนในการคำนวณแบบสัญกรณ์โอใหญ่
ขั้นตอนวิธีถัวเฉลี่ยเลวร้ายที่สุด
เนื้อที่O(n)O(n)
การค้นหาΘ(1)O(n)
การเพิ่มΘ(1)O(n)
การลบΘ(1)O(n)

แถวลำดับพลวัตไม่ใช่แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัต เนื่องจากแถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตมีขนาดคงที่ ในขณะที่แถวลำดับพลวัตสามารถขยายขนาดได้ อย่างไรก็ตาม ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัต ก็อาจใช้แถวลำดับจากการจองหน่วยความจำพลวัตเป็นส่วนประกอบได้[2]

การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตมีหลากหลายแบบและได้มีการพัฒนาโดยเรื่อยมา (ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อโครงสร้างข้อมูลอื่นที่คล้ายกันข้างล่างนี้) ในบทความนี้จะนำเสนอการอิมพลีเมนต์รูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยม มีประสิทธิภาพ ง่ายต่อการนำไปใช้งาน และง่ายต่อการวิเคราะห์

หลักการทำงาน

แก้
ค่าต่าง ๆ ถูกใส่ที่ปลายของแถวลำดับพลวัต เมื่อข้อมูลเต็มความจุแล้วจะมีการขยายความจุโดยมีการเพิ่มขนาดเป็นอัตราเรขาคณิต (ในที่นี้คือเพิ่มทีละ 2 เท่า) ช่องสีเทาแสดงถึงพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งาน การเพิ่มข้อมูลส่วนใหญ่ใช้เวลาคงที่ ในขณะที่การเพิ่มบางครั้งต้องมีการขยายความจุ ซึ่งใช้เวลา (มีรูปเต่ากำกับ) ขนาดและความจุได้แสดงให้เห็นไว้ในรูปภาพแล้ว

แนวคิดเบื้องต้นของแถวลำดับพลวัตเริ่มต้นด้วยการจองหน่วยความจำพลวัตเพื่อสร้างแถวลำดับขนาดคงที่ขึ้นมาให้มีขนาดในระดับหนึ่ง เรียกขนาดนี้ว่าความจุของแถวลำดับพลวัต แถวลำดับที่สร้างมานี้จะประกอบไปด้วยสองส่วนคือ ส่วนที่เก็บข้อมูลของแถวลำดับพลวัต กับ ส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ขนาดของส่วนที่เก็บข้อมูลนี้เรียกว่าขนาดของแถวลำดับพลวัต เมื่อมีการเพิ่มข้อมูลเข้ามาต่อท้ายก็เป็นเพียงการเปลี่ยนส่วนที่ไม่ได้ใช้งานให้มาเป็นส่วนเก็บข้อมูล ในขณะที่การลบข้อมูลออกด้านท้ายก็เป็นการเปลี่ยนส่วนเก็บข้อมูลให้มาเป็นส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ซึ่งการดำเนินการเปลี่ยนพื้นที่ไปมาระหว่าง ส่วนที่เก็บข้อมูล กับ ส่วนที่ไม่ได้ใช้งาน ใช้เวลาคงที่หรือ เท่านั้น

ตราบใดที่ขนาดของแถวลำดับพลวัตมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับความจุของแถวลำดับพลวัตก็จะไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้น แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ที่มีการเพิ่มข้อมูลจนทำให้ขนาดของแถวลำดับพลวัตมีค่าเกินความจุของแถวลำดับพลวัต สิ่งที่ต้องทำก็คือการขยายความจุ โดยการสร้างแถวลำดับขนาดคงที่อันใหม่ให้มีขนาดมากกว่าเดิม (มีความจุมากกว่าความจุเดิม) และคัดลอกข้อมูลจากแถวลำดับขนาดคงที่อันเดิมไปแถวลำดับขนาดคงที่อันใหม่ การดำเนินการขยายความจุนี้เสียเวลามาก กล่าวคือหากมีข้อมูลอยู่ ตัวในแถวลำดับพลวัต การขยายความจุนี้จะใช้เวลาเชิงเส้น หรือ

รูปแบบการทำงานของแถวลำดับพลวัต อาจแบ่งได้ออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. การทำงานที่ทราบจำนวนของข้อมูล วิธีนี้มีประสิทธิภาพดีมาก แต่จำเป็นต้องทราบจำนวนข้อมูล อาจไม่เหมาะในการใช้งานบางกรณี
  2. การทำงานที่ไม่ทราบจำนวนของข้อมูล - เพิ่มความจุเป็นค่าคงที่ วิธีนี้ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ จึงไม่มีการนำมาใช้งานจริง
  3. การทำงานที่ไม่ทราบจำนวนของข้อมูล - เพิ่มความจุเป็นอัตราเรขาคณิต วิธีนี้ให้ผลลัพธ์เทียบเท่ากับการทำงานที่ทราบจำนวนของข้อมูล มีประสิทธิภาพดีมาก และยังไม่มีข้อจำกัดเรื่องจำนวนข้อมูล เป็นแถวลำดับพลวัตที่นิยมใช้โดยทั่วไป

การทำงานที่ทราบจำนวนของข้อมูล

แก้

ในกรณีที่ทราบว่าแถวลำดับพลวัตจะเก็บข้อมูลเท่าใด สามารถกำหนดความจุให้เป็นค่าคงที่หนึ่งที่มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับจำนวนของข้อมูล เพื่อรับประกันว่าจะไม่มีปัญหาที่ขนาดของแถวลำดับพลวัตมีค่าเกินความจุของแถวลำดับพลวัต ซึ่งนำไปสู่การเสียเวลาจากการขยายความจุ นอกจากนี้ เนื่องจากความจุเป็นค่าคงที่ พื้นที่ที่สูญเสียไปโดยไม่จำเป็นก็เป็นค่าคงที่เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมักจะไม่รู้ถึงจำนวนของข้อมูลที่แน่นอน และการเก็บข้อมูลด้วยแถวลำดับพลวัตที่ความจุเป็นค่าคงที่ในบางสถานการณ์ กลับทำให้สูญเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็นอย่างมากมาย เช่นหากมีข้อมูล ตัวที่จะนำมาเก็บบนรายการ รายการตามคำสั่งที่กำหนด จะได้ว่ารายการหนึ่ง ๆ มีโอกาสที่จะมีข้อมูลมากสุดถึง ตัว ดังนั้นหากใช้แถวลำดับพลวัตที่ความจุเป็นค่าคงที่ในการทำรายการทั้ง รายการนั้น ก็ต้องหน่วยความจำถึง เพื่อรับประกันว่าข้อมูลจะสามารถเก็บได้หมด แต่ถ้าหากใช้แถวลำดับพลวัตที่ความจุไม่เป็นค่าคงที่ (หัวข้อถัด ๆ ไป) จะใช้หน่วยความจำเพียง เท่านั้น

การขยายความจุเป็นค่าคงที่

แก้

เมื่อไม่ทราบจำนวนข้อมูลที่แน่นอน สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาก็คือปัญหาที่ขนาดของแถวลำดับพลวัตมีค่าเกินความจุของแถวลำดับพลวัต ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าวิธีการแก้ไขปัญหานี้ก็คือการขยายความจุ ในหัวข้อนี้ จะให้การขยายความจุเพิ่มความจุในแต่ละครั้งเป็นค่าคงที่ c

ตารางแสดงจำนวนคำสั่งในการขยายความจุเมื่อความจุเพิ่มทีละ c
ครั้งที่ของการขยายความจุ ... สรุป
ขนาดของแถวลำดับพลวัตในรอบนั้น ๆ ... ขนาดสุดท้าย
จำนวนคำสั่งในการคัดลอกข้อมูลในรอบนั้น ๆ ... รวมจำนวนคำสั่ง

จากตาราง เมื่อมีการใส่ข้อมูลเข้ามาในแถวลำดับพลวัตเป็นจำนวน ตัว จะมีการทำงานจากการจองหน่วยความจำและคัดลอกข้อมูลถึง ครั้ง เนื่องจาก จะได้ว่าการใส่ข้อมูลเข้าไป ตัวใช้เวลาถึง ถึงแม้วิธีนี้จะเสียเวลามาก แต่พื้นที่ที่สูญเสียไปก็คือส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ซึ่งเป็นเพียงค่าคงที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติมักจะคำนึงถึงความรวดเร็วของการทำงานมากกว่าพื้นที่ที่สูญเสียไป

การขยายความจุเป็นอัตราเรขาคณิตและการถัวเฉลี่ย

แก้

เพื่อหลีกเลี่ยงการจองหน่วยความจำและคัดลอกข้อมูลหลายครั้งเกินความจำเป็น จึงมีแนวคิดใหม่ให้การขยายความจุเพิ่มความจุใหม่ในแต่ละครั้งเป็น c เท่า ซึ่งจะทำให้ความจุเพิ่มขึ้นเป็นอัตราเรขาคณิต รหัสเทียมแสดงการทำงานเป็นไปตามนี้

function insertEnd (dynarray a, element e)    if (a.size = a.capacity)        // resize a to c times of its current capacity:        a.capacity ← a.capacity * c        //  (copy the contents to the new memory location here)     a[a.size] ← e    a.size ← a.size + 1

เมื่อมีการใส่ข้อมูลตัวที่ เข้ามาและเกิดการขยายเกิดขึ้น จะมีการจองหน่วยความจำและคัดลอกข้อมูลซึ่งใช้เวลา ความจุจะเพิ่มขึ้น c เท่า นั่นหมายความว่าเมื่อพิจารณาถึงจำนวนคำสั่งที่ใช้รวมทั้งหมด ความถี่ในการขยายขนาดในแต่ละครั้งจะห่างขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอัตราเรขาคณิต ทำให้เมื่อวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ย การเพิ่มข้อมูลที่บางครั้ง บางครั้ง จะสามารถถัวเฉลี่ยให้ทุก ๆ การดำเนินการกลายเป็น ได้ ตารางข้างล่างนี้แสดงถึงการขยายความจุที่ความจุเพิ่มเป็นอัตราเรขาคณิต

ตารางแสดงจำนวนคำสั่งในการขยายขนาดเมื่อความจุเพิ่มทีละ c เท่า
ครั้งที่ของการขยายขนาด ... สรุป
ขนาดของแถวลำดับพลวัตในรอบนั้น ๆ ... ขนาดสุดท้าย
จำนวนคำสั่งในการคัดลอกข้อมูลในรอบนั้น ๆ ... รวมจำนวนคำสั่ง

สรุปได้ว่าเมื่อมีการใส่ข้อมูลเข้ามาในแถวลำดับพลวัตเป็นจำนวน ตัว จะมีการทำงาน ครั้ง เนื่องจาก จะได้ว่าการใส่ข้อมูลเข้าไป ตัวใช้เวลา ดังนั้นจึงอาจถัวเฉลี่ยให้การดำเนินการเพิ่มข้อมูลครั้งหนึ่งใช้เวลา ได้ ข้อเสียของแถวลำดับพลวัตที่ขยายความจุเป็นอัตราเรขาคณิตคือพื้นที่ที่เสียไปโดยไม่จำเป็นอาจมีมากถึงเชิงเส้น [1]

ค่า c นั้นสามารถเลือกใช้เป็นจำนวนใด ๆ ก็ได้ที่มากกว่า 1 เพื่อให้เห็นภาพได้ชัด หนังสือส่วนใหญ่ใช้ค่า c = 2 [3][4] แต่เพื่อให้พื้นที่ที่เสียไปโดยไม่จำเป็นไม่มากนัก ในทางปฏิบัติมักจะใช้ค่า c ที่น้อยกว่านั้น เช่น ArrayList ของภาษาจาวาใช้ค่า c = 3/2 [2] list ของภาษาไพธอน (ซึ่งเขียนด้วยภาษา C) ใช้ค่า c = 9/8[5]

แถวลำดับพลวัตเป็นตัวอย่างที่นิยมใช้ในการสอนเรื่องการวิเคราะห์แบบถัวเฉลี่ย[3][4]

การคืนหน่วยความจำให้กับระบบ

แก้

เนื่องจากแถวลำดับพลวัตสามารถลบข้อมูลจากด้านปลายได้ อาจจะเป็นไปได้ที่หลังจากการลบข้อมูลหลาย ๆ ครั้งแล้ว จะมีพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้ระบบเสียพื้นที่ไปโดยไม่จำเป็น วิธีการแก้ปัญหานี้สามารถทำได้โดยการคืนหน่วยความจำให้กับระบบโดยการลดความจุลง (โดยที่ความจุต้องมากกว่าขนาดของแถวลำดับพลวัตเพื่อให้ยังสามารถเก็บข้อมูลได้) การลดความจุมีวิธีดำเนินการคล้ายกับการขยายความจุ นั่นคือเป็นการสร้างแถวลำดับใหม่ขึ้นมา คัดลอกข้อมูลจากแถวลำดับเดิมไปยังแถวลำดับใหม่ จากนั้นก็คืนหน่วยความจำของแถวลำดับเดิมให้กับระบบ การดำเนินการลดความจุนี้จึงใช้เวลา เช่นเดียวกับการขยายความจุ ดังนั้นหากดำเนินการลดความจุถี่เกินไป จะทำให้เมื่อถัวเฉลี่ยออกมาแล้วการดำเนินการแต่ละครั้งไม่เป็น

เพื่อรักษาให้เวลาในการดำเนินการแต่ละครั้งเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วได้ ความจุที่ลดลงจึงควรเป็นอัตราเรขาคณิตเช่นเดียวกับการขยายความจุ กล่าวคือเมื่อขนาดของแถวลำดับพลวัตลดลงไปน้อยกว่า cr เท่าของความจุเดิม จึงจะมีการลดความจุ อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของค่า cr คือ cr ต้องมีค่ามากกว่า c

สถานการณ์เลวร้ายสุดของการดำเนินการบนแถวลำดับพลวัตก็คือการที่ต้องมีการดำเนินการเพิ่มความจุหรือลดความจุบ่อย ๆ ดังนั้นเมื่อพิจารณาในสถานการณ์นี้แล้ว สมมุติให้ขณะนี้มีข้อมูลอยู่ n ตัวซึ่ง n เป็นความจุของแถวลำดับพลวัตพอดีด้วย เมื่อใส่ข้อมูลเพิ่มอีกหนึ่งตัวจะเกิดจากขยายความจุ c เท่า มีความจุเป็น nc และมีขนาดเป็น n + 1 หากจะต้องการให้เกิดการลดความจุ จะต้องทำให้ขนาดของแถวลำดับพลวัตลดลงไปจนน้อยกว่า นั่นคือต้องลบข้อมูลออกไป และเพื่อที่เมื่อถัวเฉลี่ยกับการคัดลอกข้อมูลซึ่งใช้เวลา แล้ว การดำเนินการแต่ละครั้งจะได้ใช้เวลา จึงจะได้ว่าเวลาที่ใช้ในการลบข้อมูลจนเกิดการลดความจุต้องมากกว่าเวลาเชิงเส้น หรือ

กรณีที่ จะได้ว่าขนาดที่จะทำให้เกิดการคืนหน่วยความจำคือ ซึ่งมีค่ามากกว่า n เสียอีก ดังนั้นการกำหนด จึงใช้ไม่ได้

กรณีที่ จะได้ว่า ซึ่งไม่เข้ากับเงื่อนไขที่ต้องการ หรือถ้าจะให้วิเคราะห์ จะได้ว่า ขนาดที่ทำให้เกิดการขยายความจุคือ n + 1 ส่วนขนาดที่ทำให้เกิดการลดความจุคือ n ดังนั้นเพียงเพิ่มและลบข้อมูลให้ขนาดเป็น n กับ n + 1 สลับกันไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เวลารวมกลายเป็น และถัวเฉลี่ยออกมาไม่ได้เวลาตามที่ต้องการ

กรณีที่ จะได้ว่า ตามที่ต้องการ

ดังนั้น หากกำหนดให้ จะได้ว่าสามารถถัวเฉลี่ยให้การดำเนินการแต่ละครั้งให้ใช้เวลาคงที่ หรือ ได้ ส่วนหากกำหนดค่า cr เป็นอย่างอื่น อาจทำให้เกิดปัญหาหรือไม่มีประสิทธิภาพได้

ประสิทธิภาพเทียบกับโครงสร้างข้อมูลอื่น

แก้
 รายการโยงแถวลำดับรายการ
แถวลำดับ
ต้นไม้
สมดุล
รายการเข้าถึง
ข้อมูลแบบสุ่ม
การเข้าถึงข้อมูลΘ(n)Θ(1)Θ(1)Θ(log n)Θ(log n)
การเพิ่มและลบที่ด้านหน้าΘ(1)Θ(n)Θ(log n)Θ(1)
การเพิ่มและลบที่ปลายΘ(1)Θ(1) ถัวเฉลี่ยΘ(log n)Θ(log n) ในการปรับ
การเพิ่มและลบตรงกลางเวลาค้นหา +
Θ(1)[6][7][8]
Θ(n)Θ(log n)Θ(log n) ในการปรับ
พื้นที่ซึ่งเสียไป (โดยเฉลี่ย)Θ(n)0Θ(n)[9]Θ(n)Θ(n)

แถวลำดับพลวัตมีประสิทธิภาพเหมือนแถวลำดับทุกประการ นอกจากนี้ยังมีความสามารถมากขึ้นด้วยการสามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลทางปลายได้เรื่อย ๆ ความสามารถของแถวลำดับพลวัตมีดังนี้

  • การเข้าถึงข้อมูลโดยดัชนี : ใช้เวลาคงที่
  • การวนเข้าถึงสมาชิกทุก ๆ ตัว : ใช้เวลาเชิงเส้น, สามารถแคชข้อมูลได้ (เนื่องจากที่อยู่ของหน่วยความจำในแถวลำดับอยู่ติดกัน จึงสามารถแคชได้)
  • การแทรกหรือลบกลางแถวลำดับพลวัต : ใช้เวลาเชิงเส้น
  • การแทรกหรือลบที่ปลายของแถวลำดับพลวัต : ใช้เวลาถัวเฉลี่ยคงที่

จะเห็นได้ว่าข้อดีทั้งหลายของแถวลำดับพลวัตมาจากข้อดีของแถวลำดับ เช่นการที่สามารถแคชข้อมูล มีความแน่นของข้อมูลมาก (ใช้เนื้อที่น้อย) การเข้าถึงโดยสุ่ม มีเพียงตัวแปรเก็บขนาดและความจุที่ต้องเก็บเพิ่มเท่านั้น ดังนั้นแถวลำดับพลวัตจึงเป็นโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะในการทำงานหลาย ๆ อย่าง

เปรียบเทียบกับรายการโยงแล้ว แถวลำดับพลวัตสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มได้ ในขณะที่รายการโยงต้องใช้เวลาเชิงเส้น นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการแคช ต่างจากรายการโยงที่ข้อมูลไม่ได้มีที่อยู่หน่วยความจำติดกัน ทำให้ไม่สามารถแคชข้อมูลได้ อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางแถวลำดับพลวัตจะใช้เวลาเชิงเส้นเหมือนแถวลำดับเนื่องจากข้อมูลต้องเลื่อนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่รายการโยงสามารถทำได้ในเวลาคงที่ ข้อด้อยนี้อาจใช้บัฟเฟอร์ช่องว่าง, tiered vector ช่วยได้ (อธิบายไว้ข้างล่างในหัวข้อโครงสร้างข้อมูลอื่นที่คล้ายกัน) สำหรับเครื่องที่มีหน่วยความจำน้อยหรือมีความกระจัดกระจายของพื้นที่หน่วยความจำสูง อาจจะไม่สามารถหาพื้นที่ติดกันที่มากพอในการจัดสรรให้แถวลำดับพลวัตได้

สำหรับต้นไม้สมดุล มีความสามารถในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยเวลาที่น้อยมาก เช่นเข้าถึงข้อมูลตัวใด ๆ, เพิ่มและลบข้อมูล ณ ตำแหน่งใด ๆ ในเวลา อย่างไรก็ตาม เนื้อที่ที่เก็บข้อมูลในโครงสร้างต้นไม้นั้นไม่ติดกัน จึงทำให้ไม่สามารถแคชได้

โครงสร้างข้อมูลอื่นที่คล้ายกัน

แก้

บัฟเฟอร์ช่องว่าง (อังกฤษ: Gap buffer) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่คล้ายกับแถวลำดับพลวัต ความแตกต่างของบัฟเฟอร์ช่องว่างกับแถวลำดับพลวัตคือบัฟเฟอร์ช่องว่างจะมีพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้แทรกอยู่เป็นจำนวนมาก แทนที่จะอยู่ฝั่งขวาเหมือนกับแถวลำดับพลวัต

แถวคอยสองหน้าก็สามารถทำให้มีความสามารถในการเข้าถึงโดยสุ่มได้ โดยใช้แนวคิดของแถวลำดับพลวัต ซึ่งพื้นที่ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจะมีทั้งด้านหน้าและที่ปลาย ดังนั้นเมื่อถัวเฉลี่ยแล้วจึงสามารถเพิ่มและลบข้อมูลทั้งด้านหน้าและด้านปลายได้ในเวลาคงที่ โดยที่มีความสามารถเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มด้วย

Goodrich [10]ได้เสนอขั้นตอนวิธีในการสร้างแถวลำดับพลวัต เรียกว่า Tiered Vector ซึ่งใช้เวลา ในการเพิ่มและลบข้อมูลกลางแถวลำดับพลวัต

ต้นไม้แถวลำดับแฮช (อังกฤษ: Hash array tree; HAT) เป็นขั้นตอนวิธีของรายการแถบลำดับซึ่งตีพิมพ์ในปี 1996[11] ต้นไม้แถวลำดับแฮชใช้พื้นที่ เมื่อ n คือจำนวนข้อมูลในแถวลำดับนี้ ขั้นตอนวิธีนี้ทำให้การเพิ่มอนุกรมเข้าไปที่ท้ายของต้นไม้แถวลำดับแฮช มีประสิทธิภาพทางเวลาถัวเฉลี่ย

ในปี 1999 Brodnik et al[9] ได้นำเสนอแถวลำดับพลวัตซึ่งใช้พื้นที่เพียง ในทุก ๆ ขณะของการดำเนินการ เมื่อ n คือจำนวนข้อมูลในแถวลำดับในขณะนั้น นอกจากนี้ยังพิสูจน์ให้เห็นว่าขั้นตอนวิธีในการสร้างโครงสร้างข้อมูลแถวลำดับพลวัตใด ๆ ก็ต้องใช้พื้นที่อย่างน้อยเทียบเท่ากับแถวลำดับพลวัตของเขาหมด ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มและลบข้อมูลจากปลายของแถวลำดับพลวัตนี้ยังใช้เวลาคงที่เท่านั้นโดยไม่ต้องมีการถัวเฉลี่ยเลย

ในปี 2002 Bagwell [12] นำเสนอว่าสามารถใช้วีลิสต์ในการอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตได้

แถวลำดับพลวัตในภาษาต่าง ๆ

แก้

การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาต่าง ๆ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 สมชาย ประสิทธิ์จูตระกูล, การออกแบบและวิเคราะห์อัลกอริทึม, พิมพ์ครั้งที่ 4
  2. 2.0 2.1 การอิมพลีเมนต์แถวลำดับพลวัตในภาษาจาวา source code of java.util.ArrayList class from OpenJDK 6.
  3. 3.0 3.1 Goodrich, Michael T.; Tamassia, Roberto (2002), "1.5.2 Analyzing an Extendable Array Implementation", Algorithm Design: Foundations, Analysis and Internet Examples, Wiley, pp. 39–41.
  4. 4.0 4.1 Cormen, Thomas H.; Leiserson, Charles E.; Rivest, Ronald L.; Stein, Clifford (2001) [1990]. "17.4 Dynamic tables". Introduction to Algorithms (2nd ed.). MIT Press and McGraw-Hill. pp. 416–424. ISBN 0-262-03293-7.
  5. List object implementation from python.org, retrieved 2011-09-27.
  6. Gerald Kruse. CS 240 Lecture Notes: Linked Lists Plus: Complexity Trade-offs. Juniata College. Spring 2008.
  7. Day 1 Keynote - Bjarne Stroustrup: C++11 Style at GoingNative 2012 on channel9.msdn.com from minute 45 or foil 44
  8. Number crunching: Why you should never, ever, EVER use linked-list in your code again at kjellkod.wordpress.com
  9. 9.0 9.1 Brodnik, Andrej; Carlsson, Svante; Sedgewick, Robert; Munro, JI; Demaine, ED (1999), Resizable Arrays in Optimal Time and Space (Technical Report CS-99-09) (PDF), Department of Computer Science, University of Waterloo
  10. Goodrich, Michael T.; Kloss II, John G. (1999), "Tiered Vectors: Efficient Dynamic Arrays for Rank-Based Sequences", Workshop on Algorithms and Data Structures, 1663: 205–216, doi:10.1007/3-540-48447-7_21
  11. Sitarski, Edward (September 1996), "HATs: Hashed array trees", Algorithm Alley, Dr. Dobb's Journal, 21 (11)
  12. Bagwell, Phil (2002), Fast Functional Lists, Hash-Lists, Deques and Variable Length Arrays, EPFL
  13. STL vector คำอธิบายหลักการทำงานของ vector
  14. STL deque คำอธิบายหลักการทำงานของ deque
  15. Javadoc on ArrayList

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอสมทสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีศิริลักษณ์ คองลิซ่า (แร็ปเปอร์)พระสุนทรโวหาร (ภู่)อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อาณาจักรสุโขทัยฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปราชวงศ์จักรีอริยสัจ 4พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์วอลเลย์บอลภาวะโลกร้อนรอยรักรอยบาปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีลานีญาประวัติศาสตร์ไทยอาณาจักรธนบุรีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)วันอาสาฬหบูชาสงครามโลกครั้งที่สอง