โรงเรียนลำปางกัลยาณี

โรงเรียนลำปางกัลยาณี เป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 35 ตั้งอยู่ในตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

โรงเรียนลำปางกัลยาณี
Lampang Kanlayanee School
ข้อมูล
ชื่ออื่นล.ก. / LKS
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญอชฺเชว กิจฺจมาตปฺปํ
(จงเร่งทำความเพียรเสียแต่วันนี้)
สถาปนาพ.ศ. 2458
เขตการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส52012008
ผู้อำนวยการนายวิโรจ หลักมั่น
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
จำนวนนักเรียน3,368 คน
สี███ น้ำเงิน
███ ขาว
เพลงมาร์ชลำปางกัลยาณี
เว็บไซต์http://www.lks.ac.th

ประวัติ

แก้

โรงเรียนลำปางกัลยาณี เริ่มก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2458 โดย พล.ต.ต.เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เป็นผู้อุทิศที่ดินให้ 1 ไร่เศษ ทางฝั่งขวาของแม่น้ำวัง ถนนปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ต่อมาพ่อเลี้ยง หม่อง หง่วยสิ่น สุวรรณอัตถ์ ได้ก่อสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มี 3 ห้องเรียน แต่ไม่มีครูสอน โรงเรียนจึงถูกทอดทิ้งไว้ให้ร้างอยู่ถึง 2 ปี

ในปี พ.ศ. 2460 คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ได้มาเที่ยวที่จังหวัดลำปาง พระยาสุเรนทร์ ราชเสนีย์ เจ้าเมืองลำปางได้ขอร้องให้ คุณครูแคลระ ทำการเปิดสอน ด้วยความอนุเคราะห์ของคุณครูแคละ โรงเรียนรัฐบาลหญิงแห่งแรกของจังหวัดลำปาง จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จัดสอนแบบสหศึกษา มีนักเรียนชาย 57 คน นักเรียนหญิง 3 คน มีครูเพียงคนเดียว การสอนต้องใช้วิธีจัดให้เด็กโตช่วยสอนเด็กเล็ก ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ด้วยความตั้งใจจริงของคุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ ท่านได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังทรัพย์ ทำงานพัฒนาโรงเรียนแต่ลำพังเป็นเวลาถึง 5 ปี โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย จนปี พ.ศ. 2465 จึงได้ครูที่สำเร็จจากจังหวัดพระนครมาช่วยสอน และแบ่งเบาภาระจากท่านไปบ้าง นับได้ว่าท่านเป็น ปูชนียบุคคลที่ควรแก่การยกย่อง

พ.ศ. 2478 มีนักเรียนเพิ่มขึ้นถึง 300 คน และเปิดขยายชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องสถานที่คับแคบ สนามและที่พักผ่อนไม่พอกับจำนวนนักเรียน คุณครูแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์ จึงได้จัดซื้อที่ดินจำนวน 16 ไร่ 20 ตารางวา ที่ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (สถานที่ โรงเรียน ลำปางกัลยาณีในปัจจุบัน) ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านเป็นจำนวนเงิน 600 บาท ปัจจุบันมีเนื้อที่ 23 ไร่เศษ[1]

รายนามผู้บริหารโรงเรียนลำปางกัลยาณี

แก้
ลำดับรายนามระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1นางแคลระ รัตนศาสตร์สมบูรณ์พ.ศ. 2460 - 2478
2นางสุ่น อัจฉกุลพ.ศ. 2479 - 2480
3นางตาบ แรงขำพ.ศ. 2481 - 2485
4นางบุญฉวี พรหมปกรณ์พ.ศ. 2485 - 2487
5นางสมบูรณ์ ธรรมคลองอาตม์พ.ศ. 2487 - 2493
6นางประทุมมาลย์ รัชตะปิติพ.ศ. 2493 - 2497
7นางศรีบุศย์ กรรณสูตพ.ศ. 2497 - 2506
8คุณหญิงวลัย ลีลานุชพ.ศ. 2506 - 2528
9นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์พ.ศ. 2528 - 2533
10นางสาวบุญนาค เดี่ยววิไลพ.ศ. 2533 - 2539
11นายวีระยุทธ จงสถาพรพงศ์พ.ศ. 2539 - 2544
12นายบริบูรณ์ สุทธสุภาพ.ศ. 2544 - 2547
13ดร.จุรีย์ สร้อยเพชรพ.ศ. 2547 - 2555
14นายธรนินทร์ เฆมศิริพ.ศ. 2555 - 2558
15นายแสวง บุญมากาศพ.ศ. 2558 – 2561
16นายนิรันดร หมื่นสุขพ.ศ. 2561 – 2565
17นายวิโรจ หลักมั่นพ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน

อาคารและสถานที่สำคัญในโรงเรียนลำปางกัลยาณี

แก้
  • อาคาร 1 - กัลยารัตน์ เป็นอาคารอำนวยการ และยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(แนะแนว) มีจำนวนชั้นทั้งหมด 3 ชั้น
  • อาคาร 2 - ภัทรนารี เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ), ห้องเรียนทั่วไป, ห้องเรียนของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ MEP (Mini English Program) และ IEP (Intensive English Program) มีจำนวนชั้นทั้งหมด 3 ชั้น
  • อาคาร 3 - ธีรอนงค์ เป็นที่ตั้งของสหกรณ์ร้านค้า, กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องเรียนนาฏศิลป์ และห้องเรียนทั่วไป มีจำนวนชั้นทั้งหมด 4 ชั้น
  • อาคาร 4 - สรรพประสงค์สุดา เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเป็นอาคารเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีจำนวนชั้นทั้งหมด 4 ชั้น
  • อาคาร 5 - ปิ่นไผทกาญจนาภิเษก ลักษณะของอาคารเป็นรูปตัว T เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และเป็นอาคารเรียนของนักเรียนห้องเรียนพิเศษดนตรีไทย-ดนตรีสากล มีจำนวนชั้นทั้งหมด 4 ชั้น
  • อาคาร 6 - ราชนิทัตวิทยา เป็นที่ตั้งของห้องสมุด, พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาโรงเรียนลำปางกัลยาณี, อาคารเรียนของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และห้องเรียนทั่วไป มีจำนวนชั้นทั้งหมด 3 ชั้น
  • อาคาร 7 - ศรีรัตนศาสตร์สมบูรณ์ ลักษณะของอาคารเป็นรูปตัว L เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาจีน,ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาฝรั่งเศสและภาษาเกาหลี) และห้องเรียนทั่วไป มีจำนวนชั้นทั้งหมด 4 ชั้น
  • อาคารวรกัญญาวลัย มีทั้งหมด 3 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ส่วนชั้นบนเป็นหอประชุม ใช้เมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ ของทางโรงเรียน
  • อาคาร 100 ปี ลำปางกัลยาณี ตั้งอยู่ทางขวาของอาคารวรกัญญาวลัย เป็นที่ตั้งของหอประชุม100ปี ธนาคารโรงเรียน ห้องสิทธิประโยชน์ ร้านไอศกรีม และโต๊ะรับประทานอาหารสำหรับนักเรียน
  • อาคารพลศึกษา เป็นที่ตั้งของกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา อยู่ตรงข้ามกับอาคารวรกัญญาวลัย ด้านหน้าอาคารจะมีสนามบาสเกตบอล
  • สนามฟุตบอล ตั้งอยู่หน้าอาคารกัลยารัตน์ เป็นสถานที่สำหรับเคารพธงชาติ สวดมนต์และประชาสัมพันธ์ในตอนเช้า
  • ศาลานพรัตน์ ตั้งอยู่ทางซ้ายของอาคารราชนิทัตวิทยา
  • ห้องประชาสัมพันธ์ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับศาลานพรัตน์
  • ห้องเรียนขงจื่อ ตั้งอยู่หลังอาคารปิ่นไผทกาญจนาภิเษก เป็นห้องเรียนวิชาภาษาจีน

รายนามศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติโรงเรียน – โรงเรียนลำปางกัลยาณี" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).

http://www.lks.ac.th/

http://www.lks.ac.th/information/ เก็บถาวร 2021-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: พระสุนทรโวหาร (ภู่)หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหารายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอสมทฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระอภัยมณีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ศิริลักษณ์ คองฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปณภัทร เสียงสมบุญพระอภัยมณี (ตัวละคร)อริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพิมพ์ชนก ลือวิเศษไพบูลย์สุรเชษฐ์ หักพาลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรอยรักรอยบาปโฉมฉาย ฉัตรวิไลพิมพ์ผกา เสียงสมบุญประเทศไทยในวันที่ฝนพร่างพรายตารางธาตุสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (อัมพร อมฺพโร)พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475นิราศภูเขาทองวอลเลย์บอลรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยอาณาจักรสุโขทัยกรณ์นภัส เศรษฐรัตนพงศ์นางสุวรรณมาลีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว