สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น

องค์การในประเทศญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก Recording Industry Association of Japan)

สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本レコード協会โรมาจิNihon Rekōdo Kyōkai; อังกฤษ: Recording Industry Association of Japan หรือ RIAJ) เป็นกลุ่มการค้าอุตสาหกรรมที่ประกอบด้วยบริษัทญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1942 ในชื่อ Japan Phonogram Record Cultural Association และเริ่มใช้ชื่อปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1969

สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น
Nihon Rekōdo Kyōkai
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในอาคาร Kyodo Tsushin Kaikan
ก่อตั้ง1942
ประเภทมาตรฐานทางเทคนิค ใบอนุญาต และค่าลิขสิทธิ์
สํานักงานใหญ่คิตะ อาโอยามะ เขตมินาโตะ โตเกียว
ที่ตั้ง
สมาชิก
19 สมาชิกหลัก, 15 สมาชิกสมทบ และ 24 สมาชิกสนับสนุน (ทั้งหมด ณ เดือนสิงหาคม 2009)
บุคลากรหลัก
ฮิโรฮูมิ ชิเกมูระ
(ประธานและ CEO)
โยอิจิโระ ฮาตะ
(กรรมการผู้จัดการอาวุโสและ COO)
เว็บไซต์สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น

กิจกรรมของ RIAJ ได้แก่ การส่งเสริมการขายเพลง การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมดนตรีของญี่ปุ่น โดยจัดพิมพ์ RIAJ Year Book ประจำปี ซึ่งเป็นข้อมูลสรุปทางสถิติของยอดขายเพลงในแต่ละปี ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลอื่น ๆ มากมาย

RIAJ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เขตมินาโตะ โตเกียว มีบริษัทสมาชิก 20 แห่ง และมีสมาชิกสมทบและสมาชิกสนับสนุน บริษัทสมาชิกบางแห่งเป็นสาขาของบริษัทข้ามชาติของญี่ปุ่น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อื่น

สมาคมมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับรองอัลบั้มและซิงเกิลระดับโกลด์และแพลตตินัมในญี่ปุ่น

การรับรอง RIAJ

แก้

ในปี ค.ศ 1989 สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่นเปิดตัวระบบการรับรองผลงานดนตรี โดยจะมอบให้ตามจำนวนการจัดส่งแผ่นซีดีหรือตลับเทปที่รายงานโดยค่ายเพลง โดยเกณฑ์นี้มีผลใช้อย่างจำกัดกับเนื้อหาที่วางจำหน่ายหลังวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 1989

รางวัลการรับรอง

แก้

ปัจจุบันยอดขายเพลงทั้งหมด ทั้งซิงเกิล อัลบั้ม ยอดดาวน์โหลดดิจิทัลซิงเกิล อยู่ในเกณฑ์เดียวกัน การรับรองสูงสุดนั้นต่างจากหลายประเทศที่เรียกว่า "Million"

เกณฑ์ต่อรางวัล
โกลด์แพลตตินัม2× แพลตตินัม3× แพลตตินัมมิลเลียนมัลติมิลเลียน
100,000250,000500,000750,0001,000,0002,000,000+
เกณฑ์เก่า (จนถึงมิถุนายน ค.ศ. 2003)

ก่อนการรวมเกณฑ์และการแนะนำหมวดหมู่มิวสิกวิดีโอในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2003 มีการใช้มาตราส่วนแยกต่างหากสำหรับรางวัลการรับรอง[1]

รูปแบบประเภทเกณฑ์ต่อรางวัล[1]
โกลด์แพลตตินัม2× แพลตตินัมมิลเลียน3× แพลตตินัม4× แพลตตินัม
อัลบั้มภายในประเทศ200,000400,000800,0001,000,0001,200,0001,600,000
ระหว่างประเทศ100,000200,000400,000600,000800,000
ซิงเกิลภายในประเทศ200,000400,000800,0001,200,0001,600,000
ระหว่างประเทศ50,000100,000200,000300,000400,000

การรับรองดิจิทัล

แก้

การรับรองสำหรับเพลงและอัลบั้มที่วางจำหน่ายแบบดิจิทัลเริ่มเมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 2006 โดยใช้ข้อมูลการดาวน์โหลดที่รวบรวมมาตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[2] ตั้งแต่ปี 2006 ถึง 2013 การรับรองมี 3 หมวด ได้แก่ "Ringtone" (ญี่ปุ่น: 着うた(R)ทับศัพท์Chaku-uta), "Full-length Ringtone" (ญี่ปุ่น: 着うたフル(R)ทับศัพท์Chaku-uta Full) เช่นการดาวน์โหลดไปยังโทรศัพท์มือถือ และ "PC Download" (ญี่ปุ่น: PC配信ทับศัพท์PC Haishin) สำหรับเพลงที่ซื้อผ่านบริการต่าง ๆ เช่น ไอทูนส์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2014 ได้มีการรวมหมวดหมู่ Chaku-uta Full และ PC เข้าด้วยกันเพื่อสร้างหมวด "Single Track" (ญี่ปุ่น: シングルトラック)[3]

แม้ว่าการรับรองอัลบั้มดิจิทัลจะเป็นไปได้ แต่มีเพียงไม่กี่อัลบั้มเท่านั้นที่ได้รับการรับรองนี้นับตั้งแต่ RIAJ เริ่มมอบรางวัล รวมถึงอัลบั้มการกุศล Songs for Japan 2011[4] และสตูดิโออัลบั้มชุดที่หก Fantôme ของฮิการุ อูตาดะ ในปี ค.ศ. 2021 A Complete: All Singles (2008) ของอายูมิ ฮามาซากิ กลายเป็นอัลบั้มแรกที่ออกในคริสต์ทศวรรษ 2000 ที่ได้รับการรับรองดิจิทัล

รูปแบบเกณฑ์ต่อรางวัล[3]
โกลด์แพลตตินัม2× แพลตตินัม3× แพลตตินัมมิลเลียน
Chaku-uta (R)500,000750,0001,000,000
ซิงเกิลแทร็ค100,000250,000
อัลบั้ม

สตรีมเท่านั้น

แก้

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2020 RIAJ ได้เริ่มรับรองเพลงสำหรับการสตรีม เช่นเดียวกับการจัดส่งทางกายภาพและยอดการดาวน์โหลดดิจิทัล[5]

ต่างจากการจัดส่งทางกายภาพและยอดการดาวน์โหลดดิจิทัล การรับรองการสตรีมมีระดับของตัวเอง เนื่องจากมีปริมาณการสตรีมที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่น

เกณฑ์ต่อรางวัล[6]
โกลด์แพลตตินัม2× แพลตตินัม3× แพลตตินัมไดมอนด์
50,000,000100,000,000200,000,000300,000,000500,000,000

สมาชิก

แก้

สมาชิกหลัก

แก้

สมาชิกสมทบ

แก้

สมาชิกสนับสนุน

แก้

¹สมาชิกสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียงระหว่างประเทศ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "The Record - August 2003 - Page 15" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ December 23, 2010. สืบค้นเมื่อ December 23, 2010.
  2. レコード協会調べ 8月度有料音楽配信認定 [Record Association Investigation: August Digital Music Download Certifications]. RIAJ (ภาษาญี่ปุ่น). September 20, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2014. สืบค้นเมื่อ January 23, 2014.
  3. 3.0 3.1 音楽配信認定の基準 [Digital Music Certification Criteria] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. February 28, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 6, 2014. สืบค้นเมื่อ March 6, 2014.
  4. レコード協会調べ 5月度有料音楽配信認定 [Record Association Investigation: May Digital Music Download Certifications]. RIAJ (ภาษาญี่ปุ่น). June 20, 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 15, 2013. สืบค้นเมื่อ February 4, 2014.
  5. ストリーミング認定 [Streaming Certification] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2020. สืบค้นเมื่อ June 26, 2020.
  6. ストリーミング認定 [Streaming Certification] (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 27, 2023. สืบค้นเมื่อ March 15, 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: หน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาอสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจีระนันท์ กิจประสานพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีประเทศแอลเบเนียดนุพร ปุณณกันต์ดาวพระศุกร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระอภัยมณีดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรอริยสัจ 4ราชวงศ์จักรีนิราศภูเขาทองทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 44พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาณาจักรอยุธยาตารางธาตุพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชประเทศไทยวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024รายชื่อเครื่องดนตรีหลิว เต๋อหัวทักษิณ ชินวัตรวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยทวีปยุโรปฟุตบอลโลกวอลเลย์บอลรอยรักรอยบาปพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร